ยานสำรวจดวงจันทร์สัญชาติจีน Yutu-2 ปฏิบัติภารกิจได้ระยะทางกว่า 345.059 เมตร บนส่วนของด้านไกลของดวงจันทร์ (Far side of the moon) เพื่อทำการสำรวจด้านวิทยาศาสตร์ของดินแดนที่ยังไม่มีใครไปสำรวจได้
ทั้งยานจอดและยานสำรวจของยานอวกาศ Chang’e-4 ได้เสร็จสิ้นส่วนภารกิจช่วงกลางวันของดวงจันทร์วันที่ 12 และได้เปลี่ยนโหมดการทำงานแบบอยู่นิ่ง (Dormant Mode) สำหรับช่วงกลางคืนบนดวงจันทร์ (ศูนย์ปฏิบัติการสำรวจดวงจันทร์และอวกาศขององค์การอวกาศแห่งชาติของจีน (CNSA) รายงานเมื่อวันพุธ 4 ธ.ค.62)
ด้วยสภาวะแวดล้อมของธรณีวิทยาที่มีความซับซ้อนและภูมิประเทศที่มีความขรุขระและเต็มไปด้วยหลุม ในส่วนด้านไกลของดวงจันทร์ วิศวกรอวกาศจึงได้วางแผนอย่างรอบคอบเพื่อให้มั่นใจว่าการขับเคลื่อนของยานจะเป็นไปอย่างปลอดภัย ช้าๆ แต่มั่นคง ยานสำรวจ Yutu-2 จึงถูกคาดหวังว่าจะสามารถปฏิบัติสำรวจดวงจันทร์ได้อย่างต่อเนื่องและทำการค้นพบด้านวิทยาสตร์ได้มากขึ้น (กล่าวโดย CNSA)
ยานอวกาศ Chang’e-4 ถูกปล่อยเมื่อ 8 ธันวาคม 32 , ทำการลงจอดดวงจันทร์ครั้งแรกบนปล่องฟอน คาร์มาน (Von Karman Crater) ที่ราบขั้วใต้-Aitken (South Pole-Aitken Basin) ซึ่งอยู่บนพื้นผิวด้านไกลของดวงจันทร์ เมื่อ 3 ม.ค.63 ที่ผ่านมา
ช่วงกลางวันของดวงจันทร์จะเท่า 14 วัน บนโลก เช่นเดียวกันกับช่วงกลางคืนบนดวงจันทร์ ยานอวกาศ Chang’e-4 ได้เปลี่ยนโหมดการทำงานแบบอยู่นิ่งระหว่างช่วงกลางคืนของดวงจันทร์เนื่องจากขาดพลังงานจากแสงอาทิตย์