Mars Express ซึ่งเป็นดาวเทียมสำรวจดาวเคราะห์ดวงแรกขององค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency : ESA) ได้โคจรรอบดาวอังคารครบจำนวน 20,000 รอบ เมื่อ 26 ต.ค.62 ที่ผ่านมา ภายหลังจากที่ขึ้นสู่อวกาศจากโลกโดยจรวด Soyuz/Fregat ที่ฐานยิงจรวด Baikonur สาธารณรัฐคาซัคสถาน เมื่อ 2 มิ.ย.46 และเดินทางถึงชั้นบรรยากาศของดาวอังคารเมื่อ 25 ธ.ค.46 รวมระยะเวลาการปฏิบัติภารกิจจนถึงปัจจุบันกว่า 16 ปี 5 เดือน
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2019/11/mars-1.jpg)
วงโคจรของ Mars Express มีลักษณะเป็นรูปวงรีที่มีค่าความรี (Eccentricity) 0.571 โดยมีระยะ Periapsis 298 km และระยะ Apoapsis 10,107 km มีค่าความเอียงของวงโคจร (Inclination) 86 องศา และคาบการเคลื่อนที่ (Period) 6.7 ชั่วโมง
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2019/11/mars-2.jpg)
Mars Express ประกอบด้วย Mars Express Orbiter ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวอังคาร และ Beagle 2 Lander ซึ่งจะต้องทำการลงจอดบนพื้นผิวของดาวอังคาร แต่ได้ขาดการติดต่อจากความพยายามในการลงจอดเมื่อ 25 ธ.ค.46 โดย Mars Express Orbiter มีภารกิจดังต่อไปนี้