
และ FXT แหล่งที่มา Chinese Academy of Sciences
กล้องโทรทรรศน์อวกาศแบบ Wide-field X-ray ผ่านกระบวนการตรวจสอบหลักและมีแผนการนำส่งสู่อวกาศในปีหน้าเพื่อตรวจจับแสงวาบจากเหตุการณ์รุนแรงของจักรวาล
ยานสำรวจอวกาศ (Probe) Einstein มีแผนนำส่งในช่วงกลางปี 2023 เพื่อตรวจสอบการเกิดปฏิกริยาที่รุนแรงและจากระยะไกล เช่น เหตุการณ์การเกิด Tidal Disruption Event (TDE) เป็นเหตุการณ์ที่ดาวถูกดึงออกจากกันจากอำนาจของหลุมดำมวลขนาดมหาศาล-ซุปเปอร์โนวา อีกทั้งภารกิจสำหรับตรวจจับ และกำหนดตำแหน่งของคู่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าพลังงานสูง ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคลื่นความโน้มถ่วง
ขั้นตอนการตรวจสอบดังกล่าวจัดโดย ศูนย์วิทยาศาสตร์อวกาศแห่งชาติ หรือ National Space Science Center (NSSC) ภายใต้สถาบันวิทยาศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ Chinese Academy of Sciences (CAS) อนุมัติให้ดำเนินการประกอบ การรวมชิ้น และการทดสอบ เพื่อการนำส่งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า
อวกาศยานมีน้ำหนักกว่า 1,400 กิโลกรัม โดยจะไปอยู่ในวงโคจรที่ระดับความสูง 600 กิโลเมตร ด้วยความเอียงวงโคจรต่ำ ซึ่ง ณ ตำแหน่งนั้น จะทำการเฝ้าดูท้องฟ้าด้วยกล้องโทรทรรศน์แบบ Wide-field X-ray Telescope (WXT) ที่มีค่า Field of View (FOV) ขนาด 3,600 องศา2 (Square Degree) โดยใช้เลนส์ Optic ชนิด Lobster Eye ที่สามารถทำให้ยานสำรวจอวกาศดังกล่าวตรวจจับเหตุการณ์ด้วนคลื่น X-ray ได้กว้างกว่าที่เคยเป็นมา
ยานสำรวจอวกาศจะมี ระบบประมวลผลแบบ Onboard และมีขีดความสามารถในการติดตามอัตโนมัติ นั้นหมายความว่าหลังจากที่ WXT ตรวจพบเหตุการณ์จะส่งข้อมูลต่อไปกล้องโทรทรรศน์ Follow-up X-ray Telescope (FXT) ที่พัฒนาขึ้นในยุโรป เพื่อส่งต่อภารกิจสังเกตการณ์ได้อย่างรวดเร็ว
ทีมงานผู้พัฒนายานสำรวจหวังจะสามารถตรวจจับเหตุการณ์รุนแรงนอกกาแล็คซี่ (Extra-galactic) ที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งจนถึงขณะนี้มีการสำรวจเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จึงมีการยืนยันการพบเหตุการณ์ TDE ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้การตรวจจับการคลื่นที่แพร่กระจายอย่างเบาบางของคลื่น X-ray จากเหตุการณ์ที่ดวงดาวถูกดึงจากหลุมดำขนาดใหญ่ ทำให้ยานสำรวจอวกาศสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกถึงการที่ดวงดาวตกเข้าไปยังหลุมดำ ตลอดจนปรากฏการณ์อื่น ๆ ที่ซับซ้อนและพบเจอได้ยาก ของการรวมตัวไอพ่นของไอออนที่แพร่กระจายออกมา
นาย Yuan Weimin นักวิจัยหลักของภารกิจ จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ (NAOC) ตั้งข้อสังเกตของการนำเสนอ การประชุมในปี 2564 ว่ายานสำรวจอวกาศอาจสามารถตรวจจับการเกิด TDE ได้ประมาณหนึ่งร้อย ครั้งต่อปี
ภารกิจจะใช้กลุ่มดาวเทียมนำทาง Beidou และเครือข่าย VHF ที่เป็นของ CNES หน่วยงานด้านอวกาศของฝรั่งเศสเพื่อให้ส่งข้อมูลการแจ้งเตือนต่อไปยังภาคพื้นได้อย่างรวดเร็ว การแจ้งเตือนจะถูกเปิดเผยแบบสาธารณะเพื่อให้ทีมและกล้องโทรทรรศน์อื่นๆ สามารถติดตามผลได้อย่างรวดเร็ว และในส่วนเครือข่าย VHF ของ CNES จะสนับสนุนการปฏิการของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ X-Ray SVOM ความร่วมมือระหว่างจีน-ฝรั่งเศส ซึ่ง Einstein Probe จะทำงานร่วมกันกับ SVOM ซึ่งจะนำส่งได้ในปี 2023
ที่มา https://spacenews.com/china-to-launch-einstein-probe-in-2023-to-observe-destructive-cosmic-events/
แปลและเรียบเรียงโดย จ.อ.ธวัชชัย หันจันทร์