![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/03/A.jpg)
และครอบคลุมย่านความถี่มากกว่าระบบอื่น ๆ แหล่งที่มา Pixxel
Pixxel บริษัทสตาร์ทอัพของอินเดียจะทำการระดมทุนกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับสร้างกลุ่มดาวเทียมถ่ายภาพแบบ Hyperspectral โดยมีแผนเริ่มดำเนินการสำหรับดาวเทียมดวงแรกภายในอาทิตย์นี้
บริษัท Pixxel โดย นักลงทุน Radical Ventures ในขั้นต้นที่ได้นำบริษัทสู่ระดับ Series A ทำให้เกิดเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดรวม 33 ล้านดอลลาร์จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้นาย Awais Ahmed ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ร่วมก่อตั้ง ได้กล่าวถึงการดำเนินการครั้งนี้จะสนับสนุนแผนการณ์นำส่งดาวเทียมจำนวน 2 ดวง ในปีนี้ และอีก 6 ดวง ในต้นปี 2566 สำหรับการสร้างกลุ่มดาวเทียม
บริษัทฯ มุ่งหมายจะให้บริการภาพถ่ายดาวเทียมที่ความละเอียด 5 เมตร ครอบคลุมย่านความถี่ 150 ย่าน สำหรับการแปลความภาพถ่ายสำหรับภารกิจเพื่อการเกษตรกรรม พลังาน และตลาดอื่น ๆ ที่เชื่อว่าต้องการภาพถ่ายดาวเทียมของโลกที่มีข้อมูลจำนวนมาก
บริษัทที่ดำเนินการธุรกิจเกี่ยวกับดาวเทียมสำรวจโลกได้พยายามอย่างหนักในการค้นหาบริการภาพถ่ายแบบ Hyperspectral ที่สามารถดึงดูดลูกค้าในเชิงพาณิชย์ได้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา บริษัทสตาร์ทอัพหลายแห่งได้ก่อตั้งขึ้นโดยหวังว่าจะใช้ต้นทุนดาวเทียมขนาดเล็กที่ลดลงเพื่อสร้างตลาดการค้าใหม่สำหรับภาพถ่ายแบบ Hyperspectral ซึ่งแต่เติมจะเน้นไปที่ธุรกิจการป้องกันประเทศ ทั้งนี้บริษัท Rio Tinto ที่ดำเนินการธุรกิจเหมืองขนาดใหญ่ มีแผนจะใช้ข้อมูลภาพจาก Pixxel เพื่อพิจารณาหากเป็นประโยชน์ต่อการระบุแหล่งแร่ธาตุและติดตามการปฏิบัติงาน
นาย Ahmed ยังกล่าวถึงการกระบวนวิธีการ Iteration ครั้งแรกสำหรับกล้อง บริษัทฯ วางแผนจะใช้บริการจากการนำส่งในช่วงปลายของปีที่แล้วจากการเป็นพันธมิตรด้าน Payload กับบริษัท NanoAvionics ผู้สร้างดาวเทียม Lithuanian ในส่วนกระบวนวิธีการ Iteration ครั้งสองนั้น คือการนำกล้องติดตั้งแบบ Onboard ในดาวเทียมดวงแรกซึ่งมีกำหนดนำส่งด้วยจรวด Falcon 9 ในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจ Transporter-4 Rideshare ของ SpaceX สำหรับปล่อยอวกาศยานทั้งหมด 40 ลำ และมีแผนดำเนินการนำส่งดวงที่สองโดยทิ้งช่วงไม่นานจากดวงแรกโดย จรวด PSLV ของอินเดีย
ดาวเทียมอีก 6 ดวงมีแผนจะนำส่งในปีหน้า โดยดาวเทียมดังกล่าวจะมีขีดความสามารถมากขึ้น มีความละเอียดภาพมากขึ้น และขีดความสามารถในการเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมถึงจะมีอายุการใช้งานมากขึ้นด้วย บริษัทฯ คาดการณ์จะมีดาวเทียมรวมทั้งหมด 30 ดวงในวงโคจร ในช่วงกลางปี 2566 แต่เกิดความล่าช้าไป เป็น ช่วงปลายปี 2567 โดยสาเหตุความล่าช้าจากการระบาดของ COVID-19 อย่างเช่นบริษัทอื่น ๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
Pixel ออกแบบ บูรณาการ และทดสอบดาวเทียมทั้งหมดภายในบริษัท โดยใช้ชิ้นส่วนอะไหล่จากซัพพลายเออร์ระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงบริษัท Dragonfly Aerospace ผู้เชี่ยวชาญด้านดาวเทียมขนาดเล็กของแอฟริกาใต้ ซึ่งอยู่ระหว่างการสร้างกล้อง ในท้ายที่สุด บริษัทจะใช้ประโยชน์จากห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จากประเทศอินเดียเพื่อลดต้นทุน
ที่มา : https://spacenews.com/pixxel-raises-25-million-for-hyperspectral-imaging-constellation/
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน