![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/03/20220316-2-1024x571.jpg)
University of Auckland และ German space experts ได้มีการตกลงความร่วมมือเพื่อวิจัยในการใช้ประโยชน์สูงสุดจากคาร์บอนไฟเบอร์สำหรับอวกาศยานและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์เพื่อการส่งข้อมูลไปยังโลก โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยร่วมกันระหว่าง New Zealand Space Agency (NZSA) และ German Aerospace Center หรือที่รู้จักในชื่อ Deutsches Zentrum für Luft- und Raumfahrt (DLR)
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 NZSA และ DLR ได้ความร่วมมือกันอย่างเต็มที่ในการวิจัยด้านอวกาศ ในครั้งนี้ โครงการวิจัยร่วมแปดโครงการ ในสาขาการสังเกตการณ์โลก การขับเคลื่อนและเรดาร์ ได้เปิดตัวในการประชุมเสมือนจริงครั้งล่าสุดนี้ การเปิดตัวดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมโดย Andrew Johnson (Space Policy & Regulatory Systems) จาก NZSA และ Anke Pagels-Kerp (สมาชิกคณะกรรมการด้านอวกาศ) และ Susann Groß
(หัวหน้าโครงการวิจัยและเทคโนโลยีอวกาศ) จาก DLR
การใช้คาร์บอนไฟเบอร์สำหรับยานอวกาศและเทคโนโลยีแสงเลเซอร์เป็น 2 ใน 8 โครงการที่ได้รับส่วนแบ่ง 8 ล้านดอลลาร์จากกองทุน Catalyst Fund ของกระทรวงธุรกิจและนวัตกรรม เงินทุนดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสนับสนุนวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมระหว่างประเทศที่เป็นประโยชน์ต่อนิวซีแลนด์โดยเฉพาะ
โครงการในมหาวิทยาลัยนำโดยรองศาสตราจารย์ John Cater จากภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ และ Dr Nick Rattenbury จากภาควิชาฟิสิกส์ในคณะวิทยาศาสตร์ นักวิจัยทั้งสองได้ทำงานร่วมกับ DLR มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560
วัสดุผสมคาร์บอนไฟเบอร์มีคุณสมบัติที่ดีมากกว่าโลหะชนิดอื่นหากนำไปใช้งานในอวกาศ มีน้ำหนักเบาและมีความอ่อนตัว ในการนำไปใช้งานเป็นชิ้นส่วนที่ซับซ้อนซึ่งจะมีข้อกำหนดทางกลที่แตกต่างกันออกไปการวิจัยของทีมงานจะเกี่ยวข้องกับวิธีสร้างวัสดุเหล่านี้มีความทนทานและดำเนินการได้ในสภาพแวดล้อมเสมือนอวกาศ และจะเกิดอะไรขึ้นกับวัสดุเหล่านี้เมื่อกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ดร.จอห์น เคเตอร์ องค์การอวกาศนิวซีแลนด์
จากการศึกษาวัสดุหลายแบบ พบว่าพอลิเมอร์ที่เสริมแรงด้วยคาร์บอนไฟเบอร์มีความแข็งแรงมากกว่าเหล็กกล้าที่แข็งแรงที่สุดเกือบ 2.6 เท่า และความแข็งแรงของอะลูมิเนียม 7075-T6 เกือบ 3.6 เท่า ความแข็งแกร่งแบบนั้นน่าจะเป็นประโยชน์ต่ออวกาศยานและโครงสร้างที่ปรับใช้ได้ เช่น แผงโซลาร์เซลล์และเสาอากาศที่เปิดขึ้นเมื่อยานอวกาศไปถึงจุดหมายปลายทาง
โครงการของ Dr Rattenbury เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ที่เรียกว่าการสื่อสารด้วยแสงในอวกาศเพื่อส่งข้อมูลจากอวกาศยานลงสู่พื้นโลก โดยเฉพาะไปยังส่วนประกอบ DLR ที่จะติดตั้งที่หอดูดาว Mount John ของมหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีที่ทากาโป เขาอธิบายว่าโดยทั่วไปแล้วการรับข้อมูลจากอวกาศเกี่ยวข้องกับคลื่นวิทยุ หากประสบความสำเร็จ การใช้แสงเลเซอร์จะทำให้นักสำรวจอวกาศสามารถส่งข้อมูลเพิ่มเติมได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เขายังเปิดเผยว่าในฐานะนักดาราศาสตร์เกี่ยวกับการมองเห็น
การรวบรวมข้อมูลจากดวงดาวไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับเขา คราวนี้งานวิจัยของเขาเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูลจำนวนมหาศาลจากอวกาศยาน
ที่มา https://opengovasia.com/new-zealand-and-german-researchers-team-up-in-space-exploration/
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.ยุทธนา สุพรรณกลาง