![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220224-12-1024x564.png)
การสาธิตอาวุธต่อต้านดาวเทียม ASAT ของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งได้ทำลายดาวเทียม Cosmos 1408 เมื่อ 14 พ.ย.64 นั้น กำลังทำให้เกิดขยะอวกาศจำนวนมากกว่าหนึ่งพันชิ้นและมีโอกาสที่ขยะอวกาศนี้เข้าใกล้กับอวกาศยานอื่นเช่น ดาวเทียมวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ (Low Earth Orbit, LEO) ที่ใช้งานอยู่ได้มากกว่ามากกว่าหนึ่งพันครั้งต่อวันวันนับจากวันที่ดาวเทียมถูกทำลาย โดยบริษัท COMSPOC บริษัทเฝ้าระวังทางอวกาศ ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
วันที่ 17 ก.พ.65 Travis Langster รองประธานบริษัทและผู้จัดการทั่วไปของบริษัท COMSPOC ได้กล่าวในสัมมนาขององค์การบริหารการบินแห่งชาติ (Federal Aviation Administration, FAA) เรื่องการขนส่งทางอวกาศเชิงพาณิชย์ว่า บริษัท COMSPOC ได้พยากรณ์โอกาสการเข้าใกล้ของขยะอวกาศเฉพาะในสัปดาห์แรกเดือน เม.ย.65 โดยคาดว่าจะมีการเข้าใกล้ของขยะอวกาศกับอวกาศยาน หรือการพาดผ่านกันระหว่างวัตถุทั้งสองนั้น อาจมีมากกว่า 40,000 ครั้งต่อวัน โดยเกิดขึ้นจากเหตุการณ์การทำลายดาวเทียมแค่ดวงเดียว
บริษัท COMSPOC ได้จัดทำรายงานการพยากรณ์จำนวนครั้งที่ขยะอวกาศจากดาวเทียม Cosmos 1408 เข้าใกล้กับอวกาศยานที่โคจรในวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ (Low Earth Orbit, LEO) ในระยะน้อยกว่า 10 กิโลเมตร แสดงถึงกรณีปกติจะมีการเข้าใกล้ของขยะอวกาศอื่นกับอวกาศยานประมาณ 15,000 ครั้งต่อวัน แต่พบว่าจะมีการเข้าใกล้จำนวนมากระหว่างขยะอวกาศจากดาวเทียม Cosmos 1408 กับอวกาศยาน อีกทั้งในวันที่ 5 และ 7 เม.ย.65 จะมีการเข้าใกล้ของขยะอวกาศมากที่สุดรวมทั้งหมดประมาณ 50,000 ครั้ง
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220224-13-1024x743.png)
สาเหตุที่ทำให้ขยะอวกาศของดาวเทียม Cosmos 1408 ส่งผลกระทบกับดาวเทียมจำนวนมาก เนื่องจากดาวเทียม Cosmos 1408 นั้น เคยอยู่ในวงโคจรมีความเอียงของระนาบวงโคจร (Inclination) 82.3 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับดาวเทียมประเภท Remote Sensing ที่ส่วนใหญ่อยู่ในวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit) โดยมีความเอียงของระนาบวงโคจรประมาณ 97 องศา ทำให้วงโคจรของขยะอวกาศจากดาวเทียมนี้อาจทับซ้อนกับวงโคจรของดาวเทียม Remote Sensing แต่ทิศทางโคจรของขยะนั้นตรงข้ามกันดาวเทียม Remote Sensing ทั้งนี้ ดาวเทียม Remote Sensing ส่วนใหญ่เป็นดาวเทียมประเภท Cubesat ที่มีขนาดเล็ก ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นไม่มาก
ดาวเทียมที่อยู่นอกวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit) อาจได้รับผลกระทบนี้เช่น ดาวเทียม Starlink ที่บริษัท COMSPOC ได้พยากรณ์ว่าจะมีโอกาส 1 ใน 100,000 ที่เกิดการชนกัน ทำให้บริษัท SpaceX ต้องทำการปรับวงโคจรของดาวเทียม Starlink มากถึง 80 ครั้งต่อวัน เพื่อทำการรับมือกับการเข้าใกล้ของขยะอวกาศที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นสูงในช่วง มี.ค.65
ที่มาของภาพและข่าว: https://spacenews.com/russian-asat-debris-creating-squalls-of-close-approaches-with-satellites/
แปลและเรียบเรียง: ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์