
กลุ่มของหน่วยงานข่าวกรองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และองค์กรย่อยที่ร่วมกันดำเนินภารกิจด้านข่าวกรองของสหรัฐฯ ในนามของ U.S. Intelligence Community ที่ได้ดำเนินการสร้างและปฏิบัติการดาวเทียมสำรวจโลก (Earth Observation Satellite) ดาวเทียมสื่อสารทางทหาร (Military Communication Satellite) รวมถึงส่วนประยุกต์ใช้สำหรับภารกิจข่าวกรอง (Intelligence Application) กำลังมองหาหนทางสำหรับแก้ไขปัญหาขยะอวกาศ (Space Debris) ซึ่งเกิดข้อกังวลถึงอันตรายจากขยะอวกาศขนาดเล็กที่ไม่สามารถตรวจสอบพบได้โดยภาคการตรวจจับของระบบเฝ้าตรวจ (Surveillance Sensor) ซึ่งจะก่อความเสียหายต่อทรัพย์สินในอวกาศของรัฐบาลและภาคธุรกิจของสหรัฐฯ ได้
Intelligence Advanced Research Projects Activity หรือ IARPA เป็นโครงการภายใต้กำกับดูแลโดยสำนักงานผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ (Office of the Director of National Intelligence) อยู่ระหว่างการทำหนังสือขอข้อมูลเพิ่มเติม (Request for Information : RFI) เพื่อหาแนวทางเชิงนวัตกรรมสำหรับการตรวจจับและติดตามขยะอวกาศที่ยังไม่สามารถตรวจพบได้ในปัจจุบัน
โดยจากรายงานของ IARPA พบว่าในปัจจุบันขยะอวกาศขนาด ๑-๑๐ ซม. มีจำนวนมากกว่า ๕๐๐,๐๐๐ ชิ้น และที่ขนาดเล็กกว่า ๑ ซม. มีมากถึง ๑๐๐ ล้านชิ้น โคจรรอบโลก ซึ่งถึงแม้ขยะอวกาศจะมีขนาดเล็ก แต่ก็สามารถสร้างความเสียหายให้กับวัตถุอวกาศอย่างมาก ทั้งนี้การติดตามการโคจรของขยะอวกาศขนาดเล็กกว่า ๑ ซม. ไม่สามารถตรวจจับได้จากภาคพื้น ในขณะที่ภาคการตรวจจับในอวกาศทำได้เพียงสุ่มจำนวนของขยะอวกาศโดยให้อุปกรณ์ตรวจจับทำการชนกับขยะอวกาศ ณ ระดับความสูงวงโคจรที่แตกต่างกันไป นับตั้งแต่โครงการ Space Shuttle ได้ยกเลิกการปฏิบัติการไปเมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๔ รัฐบาลสหรัฐฯ ก็ไม่มีภาคการตรวจจับในอวกาศที่ใช้เฉพาะและเป็นมาตรฐานสำหรับการติดตามขยะอวกาศอีกเลย
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ภาคการตรวจจับภาคพื้นที่มีอยู่เดิมนั้นกำลังมีการดำเนินการปรับปรุงในปัจจุบัน ก็ไม่สามารถนำไปตรวจจับขยะอวกาศได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ เนื่องจากความไวในการตรวจจับ (Detection Sensitivity ) จะลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อต้องใช้ตรวจจับวัตถุที่ระดับความสูงเพิ่มขึ้น และจำกัดเพียงเฉพาะการสังเกตจาก ณ บริเวณที่ละติจูดสูงเท่านั้น อีกทั้งโหมดการทำงานรวบรวมข้อมูลภาคตรวจจับภาคพื้นดินจะไม่สามารถติดตามวัตถุขนาดเล็กได้เนื่องจากความเร็วเชิงมุมที่ค่อนข้างสูง และต้องทำงานอยู่ในโหมดการจ้อง (Starring Mode) เพื่อนับจำนวนวัตถุที่ผ่านเข้ามาในมุมมองเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกประการหนึ่งคือ
ภาคการตรวจจับภาคพื้นดังกล่าวจะไม่สามารถตรวจจับขยะอวกาศจากวัตถุในวงโคจรแบบ (Highly Elliptical Orbits) ได้ เนื่องจากภาคการตรวจจับภาคพื้นของสหรัฐฯ ตั้งอยู่บนซีกโลกเหนือ (Northern Hemisphere)
ที่มา https://spacenews.com/u-s-intelligence-wants-to-track-currently-undetectable-orbital-space-debris/
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน