SpaceX กำลังสูญเสียดาวเทียมอินเทอร์เน็ต Starlink ใหม่มากถึง 40 ดวงเนื่องจากพายุแม่เหล็กโลกซึ่งเกิดขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังจากการยิงนำส่งกลุ่มดาวเทียมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/1.png)
จรวด Falcon 9 ยิงนำส่งดาวเทียม Starlink 49 ดวงเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ก.พ.65 จาก Pad 39A อันเก่าแก่ของ NASA ที่ Kennedy Space Center หนึ่งวันต่อมาพายุแม่เหล็กโลกสร้างความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศเหนือพื้นโลกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยทำให้ดาวเทียมร่วงลงสู่พื้นโลก
การวิเคราะห์เบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการลากที่เพิ่มขึ้นในระดับความสูงที่ต่ำเป็นอุปสรรคทำให้ดาวเทียมไม่สามารถออกจากเซฟโหมด (Safe Mode) เพื่อเริ่มการเปลี่ยนวงโคจร และดาวเทียมมากถึง 40 ดวงจะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกอีกครั้งหรือกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกแล้ว
พายุแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นเมื่อมีการแลกเปลี่ยนพลังงานจากลมสุริยะอย่างมีประสิทธิภาพมากสู่สภาพแวดล้อมของอวกาศรอบโลกทำให้เกิดพลาสมาและกระแสที่รุนแรงเคลื่อนตัวในสนามแม่เหล็กของโลกตามรายงานของ Space Weather Prediction Center ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถทำให้ชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลกอุ่นขึ้นและเพิ่มความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศมากพอที่จะส่งผลกระทบต่อดาวเทียมที่อยู่ในวงโคจรโลกระดับต่ำอย่างเช่นดาวเทียม Starlink พายุแม่เหล็กโลกเกิดขึ้นหลังการปะทุของดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 30 ม.ค.65 โดยส่งคลื่นอนุภาคที่มีประจุเข้าหาโลกซึ่งคาดว่ามาถึงในวันที่ 2 ก.พ.65
ดาวเทียมจำนวน 49 ดวงถูกยิงนำส่งเข้าสู่วงโคจรเริ่มต้นต่ำที่สุด 210 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกโดย SpaceX กล่าวว่าตั้งใจยิงนำส่งกลุ่มดาวเทียม Starlink เข้าสู่วงโคจรต่ำที่สุดเพื่อให้สามารถกำจัดได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่เกิดความล้มเหลว
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/2.png)
แต่สำหรับดาวเทียม Starlink รุ่นใหม่ส่วนใหญ่ถูกลากมากเกินไปเมื่อเข้าสู่เซฟโหมด (Safe Mode) ซึ่งคาดว่าจะมีมากถึง 40 ดวงที่ออกจากวงโคจรเหมือนขยะอวกาศหลังจากการยิงนำส่งเพียงไม่กี่วัน โดยดาวเทียมที่ออกจากวงโคจรนั้นไม่มีความเสี่ยงชนกับดาวเทียมดวงอื่น และด้วยการออกแบบที่สลายตัวเมื่อกลับเข้าสู่บรรยากาศโลกซึ่งหมายความว่าจะไม่มีการสร้างเศษซากและไม่มีชิ้นส่วนดาวเทียมกระทบพื้น
การยิงนำส่งดาวเทียม Starlink ของบริษัท SpaceX เมื่อสัปดาห์ที่แล้วซึ่งเรียกว่าภารกิจ Starlink 4-7 เป็นเที่ยวบิน Starlink ครั้งที่ 3 ของบริษัทในปี พ.ศ.2565 ซึ่งคาดว่าดาวเทียมทั้ง 49 ดวงจะเข้าร่วมกับกลุ่มดาวเทียม Starlink อื่นอีกกว่า 1,800 ดวงที่อยู่ในวงโคจร โดยภารกิจดังกล่าวเป็นการยิงนำส่งครั้งที่ 3 ของบริษัท SpaceX ในช่วงระยะเวลา 4 วันหลังจากการยิงนำส่งดาวเทียมสำรวจโลกของอิตาลีเมื่อวันที่ 31 ม.ค.65 และอีกหนึ่งดวงของสำนักงานลาดตระเวนแห่งชาติสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 2 ก.พ.65
SpaceX ได้ยิงนำส่งกลุ่มดาวเทียม Starlink ซึ่งบางครั้งอาจมากถึง 60 ดวงต่อครั้งนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2562 เพื่อสร้างกลุ่มดาวเทียมขนาดใหญ่ในวงโคจรที่สามารถนับจำนวนดาวเทียมได้มากถึง 42,000 ดวงในหนึ่งวัน โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ลูกค้าทุกที่บนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกลหรือพื้นที่ด้อยโอกาส
โครงการ Starlink อยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์ของนักดาราศาสตร์เนื่องจากผลกระทบของกลุ่มดาวเทียมขนาดใหญ่ต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์เนื่องจากจำนวนดาวเทียมที่สูงขึ้นเคลื่อนผ่านท้องฟ้ายามค่ำคืนทิ้งร่องรอยไว้ในระยะที่มองเห็นให้กับกล้องโทรทรรศน์ นับตั้งแต่นั้นมา SpaceX ได้เริ่มจำกัดการมองเห็นของดาวเทียม Starlink เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มนักดาราศาสตร์
ที่มา : https://www.space.com/spacex-starlink-satellites-lost-geomagnetic-storm
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง