![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220201-1-1024x565.jpg)
ดาวเทียมของสาธารณรัฐจีน Shijian-21 ซึ่งเป็นดาวเทียมลากวัตถุอวกาศหรือเศษวัตถุอวกาศได้ทำการเข้าเทียบดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานในวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Earth Orbit : GEO) ไปยังวงโคจรสุสาน (Graveyard Orbit)
การดำเนินการในครั้งนี้เป็นการนำเสนอวิธีการกำจัดเศษวัตถุอวกาศ (Debris) รวมถึงดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานแล้วออกไปอยู่ในตำแหน่งหรือวงโคจรที่ไม่รบกวนดาวเทียมอื่นที่ยังใช้งานอยู่ในวงโคจร ด้วยการที่ดาวเทียม Shijian-21 ได้ปฏิบัติการที่เรียกว่า Sophisticated Rendezvous and Proximity Operations (RPO) โดยเคลื่อนที่เข้าพบร่วม (Rendezvous) ดาวเทียม Beidou-2 G2 ซึ่งเป็นดาวเทียมนำทาง (Navigation Satellite) จากนั้นทำการเข้าเทียบและลากดาวเทียมออกไปจากวงโคจรค้างฟ้าเหนือเส้นศูนย์สูตรบนโลก ซึ่งเป็นวงโคจรที่มีดาวเทียมโคจรอยู่จำนวนมาก
ข้อมูลการปฏิบัติงานกล่าวถึงดาวเทียม Shijian-21 ได้เข้าถึงดาวเทียม Beidou-2 G2 ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2565 ด้วยการเทียบวงโคจรซึ่งกันและกันและเข้าเทียบ โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมจากการประชุมผ่านเว็บบินนาร์ (Webinar) จัดโดย Center for Strategic and International Studies (CSIS) and the Secure World Foundation ซึ่งนาย Brien Flewelling แห่งบริษัท ExoAnalytic Solutions ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการครั้งนี้คือ ดาวเทียม Shijian-21 ได้จุดการเผาไหม้ (Burn) ของระบบขับเคลื่อนแล้วทำการลากดาวเทียม Beidou-2 G2 ไปยังความสูง 3,000 กิโลเมตรเหนือวงโคจรค้างฟ้า
มีการตั้งข้อสังเกตว่าการจุดเผาไหม้ครั้งนี้มากกว่าการจุดเผาไหม้ปกติเนื่องจากผลที่เกิดขึ้นมีการเคลื่อนที่ขึ้นไปถึง 3,000 กิโลเมตรเหนือวงโคจรค้างฟ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้ววงโคจรสุสาน หรือ Graveyard Orbit สำหรับไว้ดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานอยู่นั้นมีความสูงเพียง 300 กโลเมตรเหนือวงโคจรค้างฟ้า
หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2564 ดาวเทียม Shijian-21 ได้ปลดออก (Undock) จากดาวเทียม Beidou-2 G2 แล้วโคจรกลับมายังวงโคจรค้างฟ้า ตามข้อมูลการติดตามดาวเทียมของฝูงบินควบคุมอวกาศที่ 18 (18th Space Control Squadron หรือ SPCS ของกองทัพอวกาศสหรัฐ (U.S. Space Force)
สิ่งที่เกิดขึ้นกับดาวเทียม Beidou-2 คือความผิดพลาดหลังจากการยิงนำส่งเมื่อปี พ.ศ.2552 และมีการเคลื่อนที่เปลี่ยนออกไปตั้งแต่ปี พ.ศ.2553 โดยทำให้มีเศษชิ้นส่วนขนาดเล็กเกิดขึ้นในบางตำแหน่งของอวกาศ
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปวงโคจรค้างฟ้า (Geostationary Earth Orbit) เป็นวงโคจรที่ดาวเทียมโคจรและมีตำแหน่งคงที่เมื่อเทียบกับพื้นโลกบริเวณตำแหน่งเหนือเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีวงโคจรนี้มีดาวเทียมโคจรเป็นลักษณะเป็นเส้นตามกันด้วยความเร็วที่เท่ากัน ส่งผลให้ตำแหน่งขอบวงโคจรมีค่าทางธุรกิจหรือเรียกว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์อวกาศที่มีค่า (Valuable Orbital Real Estate) สำหรับดาวเทียมด้านการพยากรณ์อากาศ (Weather) การสื่อสาร (Communication) และการเฝ้าตรวจ (Surveillance)
ขณะเดียวกันนั้นประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกับกลุ่มประเทศในยุโรปร่วมมือทำโครงการสำหรับการสร้าง การประกอบและการบริการบนวงโคจร (On-Orbit Servicing, Assembly and Manufacturing หรือ OSAM) โดยบริษัท Space Logistics ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท Northrop Grumman ได้นำส่งอวกาศยาน Mission Extension Vehicle (MEV) สองเครื่องคือ MEV-1 and MEV-2 สำหรับเดินทางไปพบร่วม (Rendezvous) กับดาวเทียมเป้าหมายที่ต้องการในอวกาศ สำหรับการให้บริการเช่นการขยายอายุการใช้งานดาวเทียมหรือซ่อมแซมดาวเทียม
โครงการนี้เคยปฏิบัติงานมาแล้ว คือ อวกาศยาน MEV-1 ได้รับการติดตั้งไปกับจรวดนำส่ง Proton เมื่อ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 และได้พบร่วมกับดาวเทียม Intelsat 901 จากนั้นบริการดาวเทียมและปรับตำแหน่งของดาวเทียมใหม่ เสร็จสิ้นเมื่อ 2 เมษายน พ.ศ.2563 ทำให้ดาวเทียม Intelsat 901 สามารถปฏิบัติงานในอวกาศได้จนถึงปี พ.ศ. 2568
ขณะที่ดาวเทียม MEV-2 ได้ติดตั้งไปกับจรวดนำส่ง Ariane 5 เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2564 โดยได้เข้าเทียบกับดาวเทียม Intelsat 10-02 จากนั้นให้บริการดำเนินการปรับเทียบ (Calibrate) และทดสอบระบบสำหรับการเพิ่มอายุการใช้งานต่อไป
ที่มาของข่าวและภาพ :
https://spacenews.com/chinas-shijian-21-spacecraft-docked-with-and-towed-a-dead-satellite/
https://comspoc.com/
ข้อมูลเพิ่มเติม :
- https://en.wikipedia.org/wiki/Mission_Extension_Vehicle
- https://spacenews.com/mev-2-servicer-closing-in-on-intelsat-10-02-docking-attempt/
แปลและเรียบเรียง : พนม อินทรัศมี
วันเสาร์ ที่ 29 มกราคม 2564