เมื่อวันที่ 8 ม.ค.65 ทีมงานของกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ได้นำส่งกล้องโทรทรรศน์ขนาด 6.4 เมตรที่เคลือบกระจกทอง สำเร็จในกระบวนการสุดท้ายของกระบวนการนำส่งวัตถุอวกาศเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์ต่อไป
ความสำเร็จครั้งนี้เปิดเผยถึงความซับซ้อนของกล้องโทรทรรศน์ Webb แต่เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงด้านวิศวกรรมที่น่าประทับใจ องค์กรด้านอวกาศแห่งชาติยุโรป หรือ Europe Space Agency (ESA) มีความร่วมมือระดับนานาชาติที่นำทีมโดย NASA โดย ESA ได้ให้การความร่วมมืออันสำคัญในการสร้างประกอบอุปกรณ์ ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ และการนำส่งที่ประความสำเร็จในวันคริสต์มาส จากท่าอวกาศยาน Kourou นับว่าเป็นการร่วมมือโดยทีมงานมืออาชีพระดับโลกประกอบด้วย NASA CSA และทีมจากกยุโรป CNES Arianespace และ ArianeGroup
ปีกททั้งสองข้างของ Webb ถูกพับเก็บเพื่อจะสามารถบรรจุในส่วนของ Fairing ของจรวด Ariane 5 ก่อนทำการนำส่ง หลังจากกระบวนการตรวจสอบสำคัญของการปล่อยซึ่งกินเวลานานมากกว่าหนึ่งสัปดาห์ ทีมงาน Webb ก็เริ่มทำการส่งคำสั่งระยไกลให้ทำการคลายปีกทั้งสองซึ่งเผยให้ของกระจกรูปทรงหกเหลี่ยมโดยเป็นกระจกที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยนำส่งสู่อวกาศมา
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220112-1.png)
กระบวนการใช้เวลาหลายวัน ส่วนแรก จะเป็นปล่อยส่วนของข้างกระจก (Port) ถูกปล่อยลงมา เมื่อ 7 ม.ค.65 และต่อมาเป็น ส่วนของข้างกระจก(Starboard) อีกส่วนถูกปล่อยออกมาในวันที่ 8 ม.ค.65 ในส่วนของการบังคับการภาคพื้นของศูนย์ปฏิบัติภารกิจ (Mission Operations Center) ดำเนินการจาก Space Telescope Science Institute ใน Baltimore ซึ่งเริ่มทำการปล่อยในส่วน Starboard เมื่อเวลา 13:53 GMT/14:53 CET กระบวนการต่างๆ ได้ดำเนินการอย่างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220112-2.png)
หอสังเกตุการณ์ทางวิทยาศาสตร์ในอวกาศที่ใหญ่ที่สุดในโลกและซับซ้อนมากที่สุดลำนี้จะเริ่มทำการปล่อย และ เคลื่อนส่วนของกระจกจำนวน 18 ชิ้น เพื่อทำการปรับให้เป็นแนวของเลนส์ของกล้องโทรทรรศน์ ส่วนบังคัยการจากภาพพื้นจะเริ่มสั่งการส่วน Actuator จำนวน 126 ชุด บนด้านหลังของชิ้นวส่วนของกระจกไปยังตำแหน่งและปรับกระจกแต่ละชิ้น ซึ่งกระบวนการปรับแนวนั้นจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน และขั้นตอนต่อไปจะเป็นส่วนของการปรับ (Calibrate) เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ก่อนทำการเส่งภาพครั้งแรกจากกล้องโทรทรรศน์ Webb ในช่วงฤดูร้อน
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220112-3.png)
และอีกไม่นาน Webb จะเริ่มทำกระบวนการ Mid-course correction burn ในครั้งที่สาม เพื่อเป็นการปรับวงโคจรให้เที่ยงตรงมากขึ้นตรงบริเวณจุด Lagrang ที่สอง ซึ่งโดยทั่วไปจะรู้ในนาม L2 จุดที่อยู่ไกล 1.5 ล้าน กิโลเมตรจากโลก ซึ่งจะเป็นจุดโคจรสุดท้ายของ Webb ที่เป็นบริเวณสารเคลือบกันแดดเดจะป้องกันจากแสงของดวงอาทิตย์ โดยโลกและพระจันทร์จะสามารถรบกวนกระบวนการสำรวจด้วยแสงอินฟราเรด ทั้งนี้ Webb ได้ถูกออกแบบให้สามารถส่องได้ไกลถึง 13.5 พันล้านปี เพื่อถ่ายแสงอินฟราเรดจาก วัตถุท้องฟ้า (Celestial Object) ด้วยความละเอียดสูงของภาพที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน และเพื่อศึกษาระบบสุริยะจักรวาล รวมถึงโลกระยะไกล
อ้างอิง : https://www.esa.int/Science_Exploration/Space_Science/Webb/Webb_deployment_complete
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศตรี วรวุฒิ เฟื่องคำ