![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220106-5.png)
ฝูงควบคุมทางอวกาศที่ 18 กองทัพอวกาศสหรัฐ ได้กล่าวว่า จรวด Persei ซึ่งเป็นตรวดท่อนบนของจรวดนำส่ง Angara-A5 ได้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ 4.08 น.วันที่ 6 ม.ค.65 ตามเวลาประเทศไทย ตกลงเหนือตอนใต้มหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่ห่างไกลจากแหล่งที่อยู่อาศัย และยังไม่พบรายงานการค้นหาเศษวัตถุบนพื้นผิวโลก
ท่อนจรวด Persei ติดอยู่บนวงโคจรหลังจากทำการนำส่งเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.64 จากท่าอวกาศยาน Plesetsk Cosmodrome รัสเซีย จรวดท่อนนี้ได้ขน Payload และจะทำการติดเครื่องยนต์และจะเข้าสู่วงโคจรรอบโลกค้างฟ้า แต่ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการติดเครื่องยนต์ครั้งที่สองของเครื่องยนต์นั้น ทำให้ติดอยู่บนขั้นตอนในการเปลี่ยนวงโคจรจากวงโคจรระดับต่ำ และลงระดับลงมาใน 9 วันต่อมา
ภารกิจการนำส่งนี้เป็นครั้งที่ 3 ของภารกิจ Angara-A5 แต่เป็นครั้งแรกที่ใช้จรวด Persei เป็นจรวดท่อนบน ที่มีต้นแบบมาจากจรวด Block DM-03 ที่ใช้ในภารกิจ Proton ซึ่งที่ผ่านมาภารกิจนำส่ง Angara-A5 เกิดขึ้นเมื่อ ธ.ค.57 และ ธ.ค.63 โดยใช้จรวด Breeze-M เป็นจรวดท่อนบน ซึ่งการปฏิบัติการที่ผ่านมานี้ประสบความสำเร็จทั้งหมด
หน่วยงานความร่วมมือด้านอวกาศ Roscosmos ของรัสเซีย ประกาศเรื่องการนำส่งผ่านการแถลงเมื่อวันที่ 27 ธ.ค.64 เน้นว่าจรวด Persei ยังคงต้องปรับวงโคจรอีกหลายครั้ง เพื่อที่จะไปถึงวงโคจรรอบโลกค้างฟ้า แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการอัพเดทข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการนำส่ง และเหมือนไม่ทราบความล้อมเหลวของจรวดท่อนนี้ หรือจรวดได้กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
ภารกิจ Angara ได้ถูกนำเสนอว่าเป็นตัวแทนความสำเร็จของกลุ่มจรวด Proton การพัฒนาของจรวดย้อนกลับไปในช่วงปี 1990 แต่ติดปัญหาจนทำให้เลื่อนกำหนดการออกไป จรวดยังไม่สามารถนำส่ง Payload ได้ แต่เพียงทำได้แค่ส่งมวลที่ใช้ทดลองการนำส่งทั้งหมดจนถึงปัจจุบัน
ที่มาของภาพและข่าว: https://spacenews.com/angara-upper-stage-reenters-after-failed-launch/
แปลและเรียบเรียง: ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์