แผนของ Rocket Lab คือการนำจรวดใหญ่ที่สุดสามารถในการนำกลับมาใช้ใหม่ได้ พร้อมด้วยการออกแบบ Hungry Hippo ซึ่งเป็น Fairing ที่ออกแบบมาเพื่อการกู้คืนและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ง่ายขึ้น
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/20211207-1-1024x576.jpg)
จรวด Neutron รุ่นแรก
เปิดตัวครั้งแรกในเดือนมีนาคม 2564 สูง 130 ฟุต (40 เมตร) และสามารถนำส่ง Payload ได้ถึง 8 เมตริกตัน (18,000 ปอนด์หรือ 8,000 กิโลกรัม) สู่วงโคจรระดับต่ำของโลก และยังสามารถนำส่ง Payload ไปยังดวงจันทร์ได้ถึง 4,400 ปอนด์ (2,000 กก.)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/20211207-2.png)
การออกแบบและพัฒนาจรวด Neutron รุ่นใหม่
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/20211207-3-1024x796.jpg)
ประกอบด้วยบูสเตอร์ 2 Stage โดยในช่วง Stage แรกมี Fairing ทั้งหมด 4 ชิ้นติดกับตัวจรวดบูสเตอร์สามารถเปิดออกได้ขณะอยู่ในวงโคจรในลักษณะเหมือนดอกไม้กำลังผลิบานออกเพื่อทำการปล่อย Stage ที่สองนำส่ง Payload ไปยังวงโคจรเป้าหมาย
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/20211207-4.jpg)
จรวด Neutron รุ่นใหม่สูง 40 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เมตร และเส้นผ่าศูนย์กลาง Fairing ขนาด 5 เมตร พิมพ์ด้วยคาร์บอนไฟเบอร์ 3 มิติผสมผสานระหว่างเส้นใยคาร์บอนน้ำหนักเบาพิเศษ และตัวถังแอโรไดนามิกที่ปรับให้เหมาะสมช่วยให้น้ำหนักจรวดลดลงได้ ติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่เรียกว่า Archimedes ใช้เชื้อเพลิงก๊าซมีเทนและออกซิเจนเหลว ซึ่งปัจจุบันเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงจรวดที่ยั่งยืน โดยเครื่องยนต์ Archimedes ทั้ง 7 เครื่องจะให้แรงขับเครื่องละ 1 เมกะนิวตัน และในส่วนของ Stage 2 ใช้เครื่องยนต์ Archimedes เพียงเครื่องยนต์เดียวในอวกาศ โดยทั้งตัวจรวดและเครื่องยนต์จะถูกพิมพ์แบบ 3 มิติโดยใช้เทคนิคที่เรียกว่าการจัดตำแหน่งเส้นใยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถผลิตเครื่องยนต์ทั้งหมดใหม่ได้ภายในวันเดียว
ที่มา : https://www.rocketlabusa.com/launch/neutron/
https://www.space.com/rocket-lab-neutron-rocket-reusability-development-update
เรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง