![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/11/20211116-2-1024x565.png)
วันที่ 14 พ.ย.64 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม Nobuo Kishi ประกาศแผนก่อตั้งกองปฏิบัติการทางอวกาศแห่งที่ 2 ณ ฐานทัพอากาศ Hofu Kita จังหวัด Yamaguchi โดยมีความจำเป็นที่จะปกป้องเสถียรภาพในการใช้งานอวกาศยาน โดยหน่วยงานนี้จะก่อตั้งระหว่างปีงบประมาณ 2565 ที่จะเริ่มต้นปีงบประมาณวันที่ 1 เม.ย.65
จากการรายงานสำนักข่าว Kyodo ว่า การก่อตั้งกองปฏิบัติการอวกาศนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเพิ่มขีดความสามารถในโดเมนความมั่นคง เช่นเดียวกับประเทศจีนและประเทศรัสเซียที่ได้เพิ่มขีดความสามารถด้านเสปกตรัมสนามแม่เหล็ก ซึ่งเรดาห์การลาดตระเวนทางอวกาศได้ถูกสร้างเรียบร้อยในฐานทัพอากาศ Hofu Kita ซึ่งจะสามารถปฏิบัติการได้เต็มรูปแบบในปี 2567
ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ก่อตั้งกองปฏิบัติการทางอวกาศที่ 1 เดือน พ.ค. ปี 2563 ตั้งอยู่ที่ ฐานทัพอากาศ Fuchu ทางทิศตะวันตกของ Tokyo มีเป้าหมายที่จะตรวจหาวัตถุอวกาศ เช่น อุกกาบาต ฯลฯ ที่เป็นภัยกับดาวเทียม การก่อตั้งกองปฏิบัติการทางอวกาศแห่งที่ 2 แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นกำลังเพิ่มความร่วมมือกับสหรัฐอเมริกาในปัญหาความมั่นคงทางอวกาศ กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นมีความพยายามในการขยายความร่วมมือและการพัฒนาทางยุทโธปกรณ์กับกองทัพอวกาศสหรัฐ จากความกังวลที่ประเทศจีนเพิ่มขีดความสามารถด้านอวกาศมากขึ้น อีกทั้งญี่ปุ่นมอบหมายให้มีนายทหารแลกเปลี่ยนเข้าทำงานที่กองบัญชาการกองทัพอวกาศสหรัฐ ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือความมั่นคงทางอวกาศระหว่างกองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่นกับกองบัญชาการกองทัพอวกาศ ตั้งแต่ปี 2561 ญี่ปุ่นทำการปฏิบัติการระบบดาวเทียม Quasi-Zenith เป็นระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ที่สามารถเพิ่มความแม่นยำบริการนำทางและเวลาได้ ซึ่งร่วมมือกับกองทัพอวกาศสหรัฐ
ส่วนของภาคอวกาศเอกชน ญี่ปุ่นได้เข้าร่วมโปรแกรม Artemis ใน ต.ค.64 ทำให้ญี่ปุ่นก้าวผ่านแนวทางการจัดการกิจการอวกาศญี่ปุ่น สู่การเข้าร่วมการสำรวจดวงจันทร์กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งทาง Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA) ตกลงที่จะสนับสนุนอุปกรณ์หรือส่วนประกอบในการเดินทางไปดวงจันทร์ เช่น บริษัท ispace ของญี่ปุ่นได้พัฒนาหุ่นยนต์ลงจอดดวงจันทร์เพื่อเข้าประกวดของสัญญา Payload เชิงพาณิชย์ ของ NASA เป็นต้น
ที่มาของภาพและข่าว: https://spacenews.com/japan-to-launch-2nd-space-defense-unit-to-protect-satellites-from-electromagnetic-attack/
แปลและเรียบเรียง: ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์