![](https://i.dailymail.co.uk/1s/2021/11/10/14/50306961-10181793-image-a-3_1636554575630.jpg)
องค์การการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) NASA โพสต์ภาพโมเสค ๒๒๕ ภาพ โดย ๒๒๔ ภาพ เป็นภาพปลอม ถูกสร้างขึ้นโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) แต่สำหรับภาพจริงเพียง ๑ ภาพ ที่แสดงปรากฏการณ์ระหว่างดวงดาวที่แท้จริง บันทึกภาพโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลของนาซ่า ทำไมถึงต้องการปลอมภาพจักรวาล ด้วยเหตุผลเพื่อให้ Machine Learnning เข้าใจจักรวาลที่แท้จริงของเรามากขึ้น ภาพโมเสคที่เป็นจุดเด่นของภาพปลอมแปลง จะถูกสร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบภาพที่ปรากฏในภาพดาราศาสตร์ประจำวันของ NASA (APOD) โดยเฉพาะ บัญชี Twitter ใหม่กำลังโพสต์ภาพถ่ายปกติ ของภาพดาราศาสตร์ปลอมเหล่านี้ ซึ่งเป็นภาพที่สร้างขึ้นโดย AI มีตั้งแต่ภาพมืดมัวไปจนถึงภาพพาโนรามาที่สมจริงอย่างน่าประทับใจ
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/11/20211110-4.jpg)
การสร้างภาพปลอมของปรากฏการณ์จักรวาลโดยใช้ AI ยังเป็นหัวข้อของบทความวิจัยก่อนการพิมพ์ฉบับใหม่ นำโดย Michael J. Smith นักศึกษาปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยฮาร์ตฟอร์ดเชียร์ เทคนิคนี้ใช้แบบจำลองกำเนิดตามคะแนน ซึ่งเป็นประเภทของ AI ที่สามารถสร้างตัวอย่างภาพคุณภาพสูงได้ แต่ AI หลอกคุณหรือเปล่า ในกรณีที่คุณยังคงค้นหาภาพจริงเพียงภาพเดียวและคุณยังไม่พร้อมสำหรับการสปอยล์ จากภาพ ๒ ภาพจริงจะมีวงกลมสีแดง
ภาพจริงจะเด่นชัดขึ้นเมื่อคุณรู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพใด ใกล้กับด้านล่างขวาของภาพโมเสคเป็นภาพที่น่าทึ่งของเนบิวลาปูที่มีลวดลายประณีต ถ่ายโดยกล้องฮับเบิล เนบิวลาเป็นเมฆฝุ่นและก๊าซขนาดมหึมาซึ่งครอบครองช่องว่างระหว่างดาวฤกษ์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงดาวดวงใหม่ พวกมันก่อตัวขึ้นเมื่อดาวฤกษ์ที่ใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ของเรา เริ่มตายและปล่อยลมสุริยะออกจากก๊าซ เนบิวลาปูตั้งอยู่ห่างจากโลก ในกลุ่มดาวราศีพฤษภ
โดยอยู่ห่างจากโลก ๖,๕๐๐ ปีแสง เป็นส่วนที่เหลือของซุปเปอร์โนวา ซึ่งเป็นการระเบิดของดาวฤกษ์ที่ทรงพลัง เนบิวลาสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก และควรสังเกตได้ดีที่สุดในเดือนมกราคม
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/11/20211110-5.jpg)
เนบิวลาปูซึ่งเป็นผลมาจากซุปเปอร์โนวาที่พบครั้งแรกในปี ค.ศ.๑๐๕๔ นั้นเต็มไปด้วยเส้นใยลึกลับมีความซับซ้อนอย่างมาก มีมวลน้อยกว่า ถูกขับออกมาในซุปเปอร์โนวาดั้งเดิม ความเร็วที่สูงกว่าที่คาดการไว้จากผลการระเบิด เนบิวลาปูมีความยาวประมาณ ๑๐ ปีแสง ถูกค้นพบครั้งแรกโดยนักดาราศาสตร์จากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน เมื่อ ๑,๐๐๐ ปี
ต่อมาในปี ค.ศ.๑๗๓๑ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อ จอห์น เบวิส ค้นพบ ก่อนที่นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อชาร์ลส์ เมสซิเยร์ จะสังเกตเห็นในภายหลัง ซึ่งเข้าใจผิดคิดว่าเป็นดาวหางฮัลเลย์ โดยแกนกลางของเนบิวลาปู คือ พัลซาร์ เป็นดาวนิวตรอนที่มีมวลเท่ากับดวงอาทิตย์แต่มีขนาดเท่าเมืองเล็กๆ เท่านั้น พัลซาร์นี้จะหมุนประมาณ ๓๐ ครั้งต่อวินาที
ช้อมูลดาราศาสตร์ M1, NGC 1952: THE CRAB NEBULA
– เนบิวลาปูหรือที่เรียกว่า M1, NGC 1952 และ Taurus A เป็นซากซุปเปอร์โนวาในกลุ่มดาวราศีพฤษภ
– ผู้ตั้งชื่อโดย นักดาราศาสตร์ William Parsons ผู้สังเกตการณ์ในปี ค.ศ.๑๘๕๐ และได้สร้างภาพวาดที่ดูเหมือนปู
– ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.๑๗๓๑ และการศึกษาในภายหลังเสนอแนะว่าการสร้างเนบิวล่าปูสอดคล้องกับซุปเปอร์โนวาสว่างที่ชาวจีนสังเกตเห็นในปี ค.ศ.๑๐๕๔
– ความเชื่อมโยงกับการระเบิดซูเปอร์โนวา SN 1054 เกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ เมื่อนักดาราศาสตร์ศึกษาการสังเกตการณ์โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนย้อนหลังไปถึง ๔ กรกฎาคม คศ.๑๐๕๔
พวกเขารายงานการพบเห็นดาวดวงใหม่ที่สว่างพอที่จะมองเห็นได้ในเวลากลางวันในบริเวณเดียวกันกับเนบิวลาปูในปัจจุบัน
– ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่มีขนาดใกล้เคียงกับดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ ซึ่งหมายความว่า สามารถสร้างโดยใช้กล้องส่องทางไกลได้หากอยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
– อยู่ห่างจากโลกประมาณ ๖,๕๐๐ ปีแสงและมีความกว้าง ๑๑ ปีแสง
– ขยายตัวด้วยความเร็ว ๙๓๐ ไมล์ต่อวินาที
– มีพัลซาร์อยู่ที่ศูนย์กลางของเนบิวลา หมุนด้วยความเร็ว ๓๐.๒ ครั้งต่อวินาที โดยปล่อยชีพจรของรังสี จากรังสีแกมมาไปยังคลื่นวิทยุ
ที่มา : https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-10181793/NASA-space-images-training-algorithms-fake-except-one.html โดย JONATHAN CHADWICK FOR MAILONLINE เมื่อ ๙ พ.ย.๖๔
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.ยุทธนา สุพรรณกลาง