![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/Lucy.jpg)
อวกาศยานลูซี่ (Lucy) กำหนดยิงนำส่งวันเสาร์ 16 ตุลาคม 2564 หลังจากปล่อยขึ้นสู่อวกาศจะเดินทางเป็นระยะเวลา 12 ปีไปยังระบบสุริยะชั้นนอกเพื่อทำการสำรวจดาวเคราะห์น้อยโทรจัน ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเคราะห์น้อยที่มีวงโคจรร่วมกันกับดาวพฤหัสบดี กลุ่มดาวเคราะห์น้อยโทรจันเหล่านี้เป็นเศษซากจากยุคแรก ๆของระบบสุริยะ ซึ่งเป็นซากดึกดำบรรพ์จากการก่อตัวของดาวเคราะห์
ลูซี่ (Lucy) ตั้งชื่อตามโครงกระดูกออสตราโลพิเทซีน (ฮิวแมนนอยด์) อายุประมาณ 3.2 ล้านปี โดยอวกาศยานลูซี่ (Lucy) จะเป็นอวกาศยานลำแรกที่ไปสำรวจกลุ่มดาวเคราะห์น้อยนี้ และเป็นอวกาศยานลำแรกจากระบบสุริยะชั้นนอกที่บินผ่านโลก นอกจากนี้ภารกิจจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบข้อมูลใหม่เพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุคแรกเริ่มของจักรวาล
เส้นทางการเดินทางของลูซี่ (Lucy) จะโคจรผ่านดาวเคราะห์น้อยโทรจันที่แตกกันอย่างน้อยเจ็ดดวง และดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดีอีกหนึ่งดวง โดยมีการกลับมายังโลกสามครั้งเพื่อใช้แรงโน้มถ่วงของโลกเร่งความเร็วมุ่งหน้าไปยังระบบสุริยะชั้นนอก ดาวเคราะห์น้อยโทรจันสี่ในเจ็ดดวงถูกจับคู่เข้าด้วยกัน เพื่อทำให้ลูซี่ (Lucy) สามารถสังเกตุดาวเคราะห์น้อยทั้งสองดวงพร้อมกันได้
ที่มา : https://www.space.com/lucy-asteroid-mission-launch-one-week-away
https://www.nasa.gov/press-release/nasa-sets-coverage-invites-public-to-virtually-join-lucy-launch
แปลแลเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง