ในทุก ๆ สัปดาห์ จะมีการยิงจรวดสู่อวกาศ บ้างก็ได้นำยานสำรวจไปยังดาวอังคาร หรือจะเป็นการนำส่งผู้โดยสารไปยังอวกาศ หรือโดยทั่วไปจะเป็นการนำส่งดาวเทียมนั้น จากความคิดที่ว่าอวกาศเริ่มจะมีความแออัดมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานั้น แออัดอย่างไร และแนวโน้มของความแออัดจะเป็นอย่างไร
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/Cubesat.jpg)
ดาวเทียมมากมายที่ถูกนำไปอยู่วงโคจร บางดวงเมื่อเลิกใช้งานแล้วจะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศและถูกเผาไหม้ แต่ยังคงเหลืออีกจำนวนหลายพันอยู่ในอวกาศ อย่างไรก็ตามกลุ่มหน่วยงานทิ่ได้ติดตามการนำส่งดาวเทียมนั้น ไม่ได้รายงานตัวเลขที่แน่นอนเหมือนกันเสมอไป แต่แนวโน้มทั้งหมดชัดเจนและน่าประหลาดใจ
ครั้นเมื่อสหภาพโซเวียตทำการนำส่งดาวเทียมดวงแรกสปุตนิก (Sputnik) ในปี 1957 นั้น มนุษยชาติได้นำวัตถุขึ้นสู่วงโคจรมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นช้าแต่อัตราการเพิ่มขึ้นยังคงเหมือนเดิมคือประมาณ 60-100 ดวง ในทุกปี จนถึงต้นยุคทศวรรษในปี 2010
หลังจากนั้นอัตราการเพิ่มจำนวนของดาวเทียมมากสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อปี 2020 มีจำนวนเที่ยวนำส่งถึง 114 เที่ยว ได้นำดาวเทียมจำนวนกว่า 1,300 ดวงขึ้นสู่อวกาศ เป็นจำนวนที่เกินกว่า 1,000 ดวงต่อปีครั้งแรก นับจากเริ่มมีการส่งดาวเทียมตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามอาจไม่มีปีไหนเทียบได้กับ ปี 2021 เมื่อ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา มีดาวเทียมดวงใหม่ ประมาณ 1,400 ดวง ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก และโดยเฉพาะในเดือนกันยายนที่ SpaceX จะทำการส่งดาวเทียม Starlink ขึ้นสู่วงโคจรอีก 51 ดวง
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/article.png)
สาเหตุสำคัญที่จำนวนดาวเทียมมีการเพิ่มแบบชี้กำลังหรือ Exponential Growth มีอยู่ 2 ประการคือ
1. ดาวเทียมสามารถนำส่งสู่อวกาศได้ง่ายขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา จรวดของ SpaceX ได้นำส่งดาวเทียมหลายดวง โดยหนึ่งในนั้นมีดาวเทียมที่สร้างนักศึกษาไว้ด้วย ที่จะส่งไปยัง ISS และในวันที่ 11 ต.ค.จะมีการปล่อยดาวเทียมไปยังชั้นวงโคจรรอบโลก จำนวนดาวเทียมก็จะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/article2.png)
สาเหตุประการต่อมาคือการที่จรวดสามารถบรรทุกดาวเทียมได้ต่อครั้งจำนวนมาก ง่ายและต้นทุนต่ำกว่าเมื่อก่อนมาก การเพิ่มขึ้นนี้ไม่ใช่เพราะจรวดมีศักยภาพที่สูงขึ้น แต่เป็นเพราะดาวเทียมมีขนาดเล็กลงผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้การสัดส่วนของการนำส่งดาวเทียมในปี 2020 กว่า 94% เป็นดาวเทียมขนาดเล็กและมีน้ำหนักประมาณ 600 กก. ทั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดาวเทียมสำหรับใช้สำรวจโลก หรือสำหรับการสื่อสาร ด้วยเป้าหมายที่จะให้บริการอินเตอร์เนตในพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการอินเตอร์เนตจากสื่อกลางอื่นๆ ได้ โดยมีภาคเอกชน Starlink โดย SpaceX และ Oneweb ที่ส่งดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนกว่า 1,000 ดวงในปี 2020 และมีแผนจะนำส่งมากกว่า 40,000 ดวง ในปีต่อมา โดยะสร้างเป็นกลุ่มดาวเทียมขนาดใหญ่มากที่เรียกว่า “Mega-constellations” ในวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ และยังมีภาคเอกชนอีกหลายบริษัทสนใจที่จะเข้ามาร่วมในธุรกิจนี้อย่าง เช่น Amazon ในโครงการ Kuiper
โดยการจำนวนดาวเทียมที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ความคิดที่ว่าอวกาศจะเริ่มแออัดนั้นเริ่มกลายเป็นจริง หลังจากการปล่อยดาวเทียมของ Starlink ครั้งแรกจำนวน 60 ดวง นักดาราศาสตร์เริ่มเห็นการบดบังดวงดาวโดยดาวเทียม ซึ่งผลกระทบต่อการดาราศตร์เป็นเรื่องที่เห็นชัดเจน แต่ความแออัดยังส่งผลต่อการดาราศาสตร์วิทยุที่อาจจะสูญเสียด้าน Sensitivity ของความถี่ที่สำรวจไปถึง 70% ผลจากกลุ่มดาวเทียมขนาดใหญ่อย่าง Starlink ซึ่งขณะนี้ผู้เชียวชาญเองได้มีการศึกษาและถกประเด็นเรื่องปัญหาที่เกิดจากกลุ่มดาวเทียม และวิธีที่บริษัทเจ้าของดาวเทียมจะต้องรับผิดชอบ ซึ่งรวมถึงการลดจำนวนและความสว่างของดาวเทียม การให้ข้อมูลตำแหน่ง และสนับสนุนซอฟต์แวร์สำหรับการประมวลผลภาพ ไม่เพียงแต่ปัญหาด้านดาราศาสตร์ ความแออัดของอวกาศยังเกิดข้อกังวลเรื่องของการเพิ่มขึ้นของขยะอวกาศ และโอกาสที่มากขึ้นของการชนกันอีกด้วย
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/article4.png)
ไม่เกิน 10 ปีที่ผ่านมา การทำให้เป็นประชาธิปไตยบนอวกาศเป็นเป้าหมายที่ยังไม่ถูกทำให้เป็นจริง ด้วย โครงการของนักเรียนในสถานีอวกาศ และมากกว่า 105 ประเทศที่มีดาวเทียมอย่างน้อยหนึ่งดวงในอวกาศ เป้าหมายอาจมองว่าสามารถเอื้อมถึงได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่สามารถเปลี่ยนโลกได้ (Disruptive Technological Advancement) ยังคงต้องมีการปรับปรุงกฏเกณฑ์ หรือการสร้างขึ้นมาใหม่ อย่าง SpaceX ที่ได้ทดสอบวิธีการลดผลกระทบจากกลุ่มดาวเทียม Starlink และ Amazon ที่ได้เปิดเผยถึงแผนการ Deorbit ดาวเทียมภายใน 355 วันหลังจากทำภารกิจเสร็จสิ้น การกระทำเหล่านี้และอื่น ๆ จากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย สร้างความหวังให้การพาณิชย์ วิทยาศาสตร์และความพยายามของมนุษย์จะสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาจากวิกฤตเหล่านี้ได้ในอนาคต
ที่มา Article in “The Conversation” https://theconversation.com/au โดย Supriya Chakrabarti, Professor of Physics, University of Massachusetts Lowell
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน