![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/The-Great-Observatories.jpg)
ท้องฟ้ามากมายหลากหลายดวง โดยสามารถจำแนกได้ตามลักษณะของช่วงความยาวคลื่นแสงที่กล้องโทรทรรศน์แต่ละตัวรับเข้ามา เช่น องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NASA) มีกล้องโทรทรรศน์อวกาศหลักอยู่ 4 ตัว ภายใต้ชื่อโครงการว่า The Great Observatories ซึ่งประกอบไปด้วย กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตัน (Compton Gamma Ray Observatory : CGRO) กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา (Chandra X-ray Observatory) กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ (Spitzer Space Telescope : SIRTF) และสุดท้ายกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope : HST) ซึ่งกล้องทั้ง 4 ตัวล้วนแล้วแต่ทำหน้าที่ในการตรวจจับสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน
เริ่มต้นกันด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตัน ซึ่งได้รับการนำส่งด้วยกระสวยอวกาศแอทแลนติสเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ.1991 โดยในขณะนั้นถือเป็นอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ที่มีน้ำหนักมากที่สุดที่ได้ขึ้นสู่ห้วงอวกาศ คอมพ์ตันเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศชนิดรับคลื่นรังสีแกมมาและมีภารกิจในการเก็บข้อมูลกระบวนการทางกายภาพที่รุนแรงที่เกิดขึ้นในจักรวาล ตลอดจนจำแนกความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามระดับพลังงาน โดยมี Payload ที่สามารถตรวจจับช่วงสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ 30 keV (กิโลอิเล็กตรอนโวลต์) ถึง 30 GeV (กิกะอิเล็กตรอนโวลต์) อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์อวกาศได้เสร็จสิ้นภารกิจและทำการ Deorbit กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.2000
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/กล้องโทรทรรศน์อวกาศคอมพ์ตัน.jpg)
ตามมาด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศลำดับที่ 3 ของโครงการ The Great Observatories ที่ได้รับการนำส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศในช่วงเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1999 โดยเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศชนิดรับสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่น X-Ray และมีภารกิจในการสังเกตการณ์วัตถุต่าง ๆ ในอวกาศ เช่น หลุมดำ กลุ่มของแก๊สที่มีอุณหภูมิสูงในจักรวาล รวมถึงควอซาร์ ซึ่งเป็นวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดที่มนุษย์เคยรู้จัก เนื่องจากอยู่ห่างออกไปหลายล้านปีแสง แต่ก็ยังสามาถจับสัญญาณได้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา สามารถตรวจับคลื่น X-Ray ที่มีแหล่งกำเนิดห่างจากโลกหลายพันล้านปีแสง ด้วยความราบเรียบของกระจกรับคลื่น ทำให้จันทราสามาถรับภาพได้คมชัดมากกว่ากล้องโทรทรรศน์ X-Ray ที่สร้างขึ้นก่อนหน้ามากถึง 25 เท่า ซึ่งหากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็คงเทียบเท่ากับการที่เราสามารถอ่านหนังสือพิมพ์ได้จากระยะทางครึ่งไมล์เลยทีเดียว กล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราจึงได้สร้างความองค์ความรู้ในการศึกษาวัตถุต่าง ๆ ในอวกาศ เช่น หลุมดำ ซุปเปอร์โนวา และสสารมืด รวมถึงทำให้มนุษย์ได้เข้าใจการเกิดและวิวัฒนาการของจักรวาลของเราได้มากยิ่งขึ้น
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/ภาพจำลองกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทรา.jpg)
ในตอนถัดไปเราจะยังคงอยู่ในหัวข้อ
The
Great Observatories ซึ่งยังเหลือสมาชิกของโครงการอยู่อีก
2 ดวงที่จะได้รับการหยิบยกมาพูดถึง นั่นคือ กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์
และท้ายสุด กล้องโทรทรรศน์อวกาศที่โด่งดังมากที่สุดในโลก นั่นคือ
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล นั่นเอง
แหล่งที่มา :
- https://www.nasa.gov/audience/forstudents/postsecondary/features/F_NASA_Great_Observatories_PS.html
- https://chandra.harvard.edu/
- https://heasarc.gsfc.nasa.gov/docs/cgro/index.html
- http://www.lesa.biz/astronomy/galaxy/quasar?tmpl=%2Fsystem%2Fapp%2Ftemplates%2Fprint%2F&showPrintDialog=1
- https://www.nasa.gov/mission_pages/chandra/astronomy/index.html
- https://www.nasa.gov/centers/marshall/history/cgro140404.html
ผู้เรียบเรียง : ร.อ.ณัฐดนัย วิศิษฏ์โยธิน