![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/LDC.jpg)
องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และสำนักงานสหประชาชาติด้านกิจการอวกาศ (United Nations Office for Outer Space Affairs ; UNOOSA) ได้เปิดระบบทดสอบแรงโน้มถ่วงสูง เป็นครั้งที่ ๒ ภายใต้โครงการ HyperGES ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเข้าถึงอวกาศสำหรับทุกความคิดริเริ่ม และโดยเฉพาะทีมนักศึกษาทั่วโลกที่เปิดโอกาสให้ทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงสูงโดยใช้เครื่องหมุนเหวี่ยงเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ ณ ศูนย์เทคโนโลยี ของศูนย์วิจัยอวกาศและเทคโนโลยียุโรป หรือ European Space Research and Technology Centre (ESTEC) องค์การอวกาศยุโรป สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ที่มุ่งให้ความสนใจกับประเทศกำลังพัฒนา
LDC (Large Diameter Centrifuge) หรือ เครื่องหมุนเหวี่ยงเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ เป็นเครื่องหมุนเหวี่ยงที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘ เมตร ประกอบด้วยแขนเหวี่ยงจำนวน ๔ แขน ที่สามารถให้นักวิจัยใช้สภาวะแรงโน้มถ่วงสูงขนาด ๑๐ เท่าเมื่อเทียบกับแรงโน้มถ่วงโลก ตลอดสัปดาห์หรือเดือนได้ โดย ณ จุดที่เร็วที่สุด ระบบจะหมุนเหวี่ยงโดยความเร็ว ๖๗ รอบต่อวินาที โดยจะมีกระเช้าจำนวน ๖ ชุด วางในจุดต่าง ๆ บนแขนเหวี่ยง มีน้ำหนักประมาณ ๑๓๐ กิโลกรัม โดยแต่กระเช้าสามารถรองรับน้ำหนักของ Payload ได้ที่ ๘๐ กิโลกรัม
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/LDC2.gif)
นักวิจัยสามารถเพิ่มขนาดของแรงโน้มถ่วงได้จากหน้าปัดตั้งค่าของระบบ ซึ่งระบบ LDC ได้รับความนิยมจากทีมวิจัยเรื่องสิ่งมีชีวิตและวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ รวมถึงการทดสอบในเชิงพาณิชย์ ซึ่งทีมงาน ESA เองก็ได้ใช้งานเครื่องหมุนเหวี่ยงนี้ในการทดสอบการตอบสนองวัตถุและชิ้นส่วนประกอบอวกาศยานต่อการเพิ่มของแรงสั่นในช่วง ขณะที่ทำการนำส่งไปยังอวกาศ
ความคิดเบื้องหลังของการโครงการนี้เพื่อต้องการขยายการเข้าถึงของระบบทดสอบนี้ให้กับทีมงานพัฒนา ทั่วโลก โดยเฉพาะทีมงานจากประเทศกำลังพัฒนา ที่ขาดโอกาศในการเข้าถึงในการใช้งานระบบทดสอบนี้ ซึ่งจะผู้ที่สนใจนั้นจะรู้จักในนามทางการคือ “United Nations / European Space Agency Fellowship Programme on the Large Diameter Centrifuge Hypergravity Experiment Series” หรือ HyperGES
ในครั้งแรกของโครงการนี้ มีทีมที่ได้ชนะในการคัดเลือกจาก มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย โดยทดสอบสภาวะแรงโน้มถ่วงสูงต่อไข่น้ำ หรือผา (Watermeal) พืชดอกขนาดเล็กที่สุดในโลก โดยจะทำการเปลี่ยนขนาดแรงโน้มถ่วงเพื่อประเมินคุณประโยชน์ของพืชดังกล่าวในการนำไปใช้ในระบบดำรงชีวิตในอวกาศ ซึ่งปัจจุบันทีมงานยังคงพัฒนาการทดสอบสภาวะแรงโน้มสูงอย่างต่อเนื่อง
สำหรับการเปิดโอกาสในครั้ง ๒ นั้น ได้เชิญนักศึกษาทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิงประเทศที่กำลังพัฒนาเข้าร่วม โดยจะมีนักวิยาศาสตร์และนักวิจัยสนับสนุนในครั้งนี้ด้วย สามารถส่งใบสมัครได้ภายใน ๒๘ ก.พ.๖๕ และเพื่อเป็นการแนะนำให้กับทีมที่สนใจในการทำคำเสนอโครงการ ในการ ESA เป็นผู้เตรียมการจะมีสัมมนาออนไลน์ ผ่าน https://www.unoosa.org/oosa/en/ourwork/access2space4all/accspace4all_tips.html ที่จะให้รายละเอียดถึงความรู้พื้นฐาน ลักษณะเฉพาะ รวมถึงข้อได้เปรียบของสภาพแวดล้อมแบบ Hypergravity/Microgravity Environment จะให้ข้อมูลเชิงลึกในการวิจัยชนิดต่าง ๆ การประยุกต์ และวิธีการพัฒนาการทดลองสำหรับสภาพแวดล้อมเฉพาะ
ที่มา https://www.esa.int/Enabling_Support/Space_Engineering_Technology/ESA_and_UN_offer_worldwide_access_to_hypergravity_testing
แปลและเรียบเรียบโดย ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน
วันที่ ๒ ก.ย.๖๔