![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/MEO-1024x640.jpg)
ในปัจจุบันจำนวนดาวเทียมวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ หรือ Low Earth Orbit (LEO) มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนใหญ่จะมีภารกิจในการรวบรวมข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก ดาวเทียมถ่ายภาพต่าง ๆ ถึงแม้สัญญาณที่ดาวเทียมในชั้นวงโคจรแบบ LEO มีลักษณะเป็นลำคลื่น (Beam) ที่มีระดับความเข้มข้นมากพอที่จะสามารถอัพเกรดช่องสัญญาณ (Bandwidth) ให้รองรับการรับส่งข้อมูลปริมาณมากได้ รวมถึงการลดทอนสัญญาณที่น้อยหากเทียบกับดาวเทียมที่ระดับสูงกว่า อย่างไรก็ตามก็มีข้อเสียเปรียบของการรับ-ส่งข้อมูล เหตุเพราะดาวเทียมในชั้นวงโคจรนี้จะเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นการยากที่จะสถานีภาคพื้นจะเชื่อมต่อกับดาวเทียมได้ตลอดเวลา ทำไม่สามารถรับส่งข้อมูลมายังสถานีภาคพื้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลที่ได้จึงไม่ใช่แบบ Real-Time
ปัจจุบันมีการมีพัฒนาการสื่อสารของดางเทียมที่มีชื่อว่า SpaceLink โดยอาศัยความได้เปรียบด้านพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณ (Area Coverage) และความพร้อมใช้งาน (Availability) ของดาวเทียมวงโคจรรอบโลกระดับกลาง หรือ Medium Earth Orbit (MEO) นำมาเป็นดาวเทียมตัวกลางในรับ-ส่งสัญญาณระหว่างสถานีภาคพื้นเกตเวย์ (Gateway) และดาวเทียมหรืออวกาศยานในระดับชั้นวงโคจรใกล้โลกอื่น ๆ (Near Earth Orbit) โดยจะใช้ดาวเทียมในวงจร MEO อย่างน้อย 4 ดวง ก็จะสามารถให้พื้นที่ครอบคลุมสัญญาณทั้งโลกได้
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/SpaceLink-1.png)
เครดิต : SpaceLink
SpaceLink จะประกอบด้วย 3 ส่วน คือสถานีภาคพื้นเกตเวย์ที่เชื่อมต่อกันระหว่างสถานีด้วยโครงข่ายส่วนตัว (Private Network) หรือแบบระบบ Cloud Computing ต่อมาเป็นกลุ่มดาวเทียมรีเลย์ในชั้นวงโคจร MEO และสุดท้ายคือดาวเทียมหรืออวกาศยานในชั้นวงโคจร LEO โดยสถานีภาคพื้นเกตเวย์ที่เชื่อมต่อกันจะทำให้การส่งข้อมูลจากดาวเทียมรีเลย์ลงมายังสถานีนั้นทำได้อย่างน้อย 1 สถานี เช่นเดียวกับเมื่อกลุ่มดาวเทียมรีเลย์ในชั้น MEO เชื่อมต่อกัน ก็ทำให้สถานีภาคพื้นเกตเวย์ส่งข้อมูลไปยังดาวเทียมรีเลย์ได้อย่างน้อย 1 ดวง เหตุนี้ Spacelink ทำให้การรับ-ส่งสัญญาณระหว่างสถานีภาคพื้นเกตเวย์ไปยังดาวเทียมหรืออวกาศยานในชั้นวงโคจร LEO ทำได้ตลอดเวลา ส่งผลสถานีภาคพื้นแม้ว่าไม่ได้อยู่ในพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณกับดาวเทียมหรืออวกาศยานนั้น ๆ ก็สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ตลอดเวลา
SpaceLink อาจถือได้ว่าเป็นก้าวเปลี่ยนแปลงสำคัญที่พัฒนาระบบสื่อสารดาวเทียมนำไปต่อยอดภารกิจสำรวจอวกาศต่าง ๆ ให้พัฒนาไปได้มากขึ้น ขีดจำกัดของระบบรับ-ส่งข้อมูลเดิม จะถูกอัพเกรดให้สามารถรองรับกับปริมาณข้อมูลที่มากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว การต่อยอดระบบรับ-ส่งข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยาการโลกมายังสถานีภาคพื้นที่จะสามารถรับ-ส่งข้อมูลแบบ Near Real-Time ได้ เกิดระบบประมวลผลและแจ้งเตือนสถานการณ์ของโลกได้แบบทันถ่วงที ที่ได้กล่าวมานั้นอาจเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่อาจจะเห็นในอนาคตอันใกล้เท่านั้น นอกเหนือจากนี้อาจจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีใดมาทดแทนอีก ทีมงานจะคอยติดตามและนำมาเล่าทุกท่านได้ทราบต่อไปอย่างแน่นอน
เรียบเรียงโดย ร.อ.สุทธิพงษ์ โตสงวน