![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/06/20210603-1-1.png)
การเชื่อมต่อที่ไม่มีรอยต่อระหว่างดาวเทียมกับแพลตฟอร์ม (Platform) อื่นทางทหาร คือ ปัญหาสำคัญที่ทางหน่วยงานด้านการพัฒนาอวกาศหวังที่จะแก้ให้มันหมดไป
ดาวเทียม CubeSat จำนวน 2 ดวงที่สร้างโดยบริษัท General Atomics ให้กับหน่วยงานด้านการพัฒนาอวกาศจะทำการสาธิตการติดต่อสื่อสารแบบออปติคระหว่างดาวเทียมกับดาวเทียม และระหว่างดาวเทียมกับโดรนทางทหาร
ดาวเทียมทั้ง 2 ดวงนี้มีกำหนดส่งไปยังวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit) ภายหลังในเดือนนี้ โดยจะได้รับการนำส่งไปในภารกิจร่วมโดยสาร (Rideshare Mission) ด้วยจรวด Falcon 9 ของบริษัท SpaceX ซึ่งภารกิจนี้ถูกเรียกว่า ภารกิจ “Transporter-2” บริษัท General Atomics Electromagnetic Systems ประกาศเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2564 ว่าได้สำเร็จการทดสอบภาคพื้นของดาวเทียม CubeSats ที่ติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการติดต่อสื่อสารด้วย Laser แล้ว
หน่วยงานด้านการพัฒนาอวกาศจะใช้ดาวเทียมในการทดสอบการเชื่อมต่อแบบออปติค และการติดต่อสื่อสารระหว่างดาวเทียมและโดรนอัตโนมัติ MQ-9 Reaper ที่สร้างโดยบริษัท General Atomics Aeronautical Systems
การไม่มีรอยต่อในการติดต่อระหว่างดาวเทียมและแพลตฟอร์มอื่นทางทหารผ่านการติดต่อสื่อสารแบบ
ออปติคเป็นปัญหาหลักที่หน่วยงานด้านการพัฒนาอวกาศต้องการจะแก้ไขเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีประจำการ (Deploy) เครือข่ายในรูปแบบคล้ายตาข่ายของดาวเทียมขนาดเล็กในวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ (Low Earth Orbit : LEO) โดยกลุ่มเครือข่ายดาวเทียมนี้รู้จักกันในชื่อ “Transportation Layer” ซึ่งถูกออกแบบให้ส่งผ่านข้อมูลขนาดมหาศาลจากดาวเทียมสู่ดาวเทียม และจากดาวเทียมสู่ภาคพื้นและเครื่องบินในขณะปฏิบัติการ
การทดลองการติดต่อสื่อสารระหว่างอวกาศกับอากาศคือหนึ่งในก้าวแรกที่จะตรวจสอบความถูกต้องในการใช้การติดต่อสื่อสารแบบออปติคเพื่อทำให้ได้รับเวลาหน่วงที่ต่ำ (Low Latency) รวมทั้งข้อมูลที่ปลอดภัยส่งตรงถึงอาวุธและแพลตฟอร์มที่ใช้ในการโจมตี
ดาวเทียม CubeSat ทั้งสองติดตั้งอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบออปติค ความยาวคลื่นในย่านความถี่ C-band และ Payload อินฟาเรด ดาวเทียมจะพยายาติดต่อกับอุปกรณ์ติดต่อสื่อสารแบบออปติคของโดรน MQ-9 ซึ่งจะบินอยู่ในระดับความสูงประมาณ 25,000 ฟุต
การสาธิตนี้ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ในระยะเวลาดังกล่าวโดรนจะบินที่ระดับความสูงและท่าทางที่แตกต่างกัน เป้าหมายคือเพื่อต้องการที่จะดูว่าในขณะที่โดรนเปลี่ยนท่าทางการบิน อุปกรณ์รับส่งสัญญาณติดสื่อสารแบบ
ออปติคยังคงสามารถรับคำสั่งและทำการรับและส่งต่อข้อมูลได้
เรียบเรียงโดย : น.ต.ชาคริต จันทมิตร