1. SpaceX และ Boeing เตรียมปล่อยนักบินและผู้โดยสารสู่อวกาศเชิงพาณิชย์กลุ่มแรก
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/01.png)
และ แคปซูล Crew Dragon ของ SpaceX แคปซูล ในวงโคจร
(Image: © Boeing/SpaceX)
Crew Dragon โดย SpaceX และ Starliner โดย Boeing จะนำนักบินอวกาศและผู้โดยสารกลุ่มแรกสู่อวกาศในปีนี้ แต่กำหนดการอย่างเป็นทางการยังไม่ทราบแน่ชัด โดยยานอวกาศทั้งสองยังคงอยู่ในช่วงของการทดสอบเรื่องความปลอดภัย ดาวเทียมโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Solar Orbiter)
2. ดาวเทียมโคจรรอบดวงอาทิตย์ (Solar Orbiter)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/02.png)
ดาวเทียมโคจรรอบดวงอาทิตย์ดวงนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่างนาซา (NASA) และองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) โดยดาวเทียมจะมีกำหนดการปล่อยจากฐาน Cape Canaveral Air Force Station ที่รัฐฟลอริดา ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ปีนี้
คาดการณ์ว่าดาวเทียมจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ประมาณ 0.28 AU (Astronomical Unit) ซึ่งอยู่ในวงโคจรของดาวพุธ ซึ่งมีภารกิจสำคัญเพื่อศึกษาการทำงานของดวงอาทิตย์ ดาวเทียมจะปฏิบัติภารกิจเป็นระยะเวลา 7 ปี
3. ยานสำรวจดวงอังคารของ Mars 2020 และอื่น ๆ
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/03.png)
นาซาจะปล่อยยานสำรวจ Mars 2020 17 กรกฎาคมนี้ โดยยานสำรวจมีภารกิจสำรวจพื้นที่ที่อาจจะเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตดั้งเดิม (Ancient Habitability)
ในขณะที่องค์การอวกาศยุโรปและรัสเซีย มีแผนจะปล่อยยานสำรวจดาวอังคารเช่นกัน โดยมีชื่อว่า ExoMars Rosalind Franklin ซึ่งกำหนดการปล่อยในวันที่ 25 กรกฎาคม ปีนี้
นอกจากนี้ยังมีประเทศอื่น ๆ ที่จะส่งยานำรวจไปยังดาวอังคารอีก เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่จะมีกำหนดการปล่อยยานสำรวจลำแรกที่ชื่อว่า Hope Mars Mission ซึ่งจะปล่อยฐานในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีแผนจะปล่อยยานจอดและยานสำรวจขนาดเล็กในปีนี้เช่นกัน
4. การปล่อยยานพาหนะปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก (SSLV : Small Satellite Launch Vehicle)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/04.png)
การปล่อยยานพาหนะปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก หรือ SSLV ซึ่งเป็นจรวดใหม่ที่สร้างโดยองค์การวิจัยอวกาศแห่งอินเดีย มีกำหนดการปล่อยสู่วกาศในช่วงต้นปี 2020 (มีภารกิจทดสอบการปล่อยในเดือนมกราคม)
เป้าหมายของภารกิจคือต้องการสร้างยานพาหนะขนาดเล็กที่สามารถปล่อยดาวเทียมรวมถึงมนุษย์อวกาศได้จำนวนครั้งที่มากขึ้น เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและความซับซ้อนของกระบวนการ
โดยในปีนี้ จะมีภารกิจปล่อยดาวเทียมสำรวจโลก จำนวน 4 ดวง ในโครงการ BlackSky Global โดยจรวด SSLV จะถูกปล่อยจากฐาน Satish Dhawan Space Center ในเมืองศรีหริโคตา (Sriharikota) ของประเทศอินเดีย
5. Starlink, Falcon Heavy และ Starship โดย SpaceX
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/05-1.png)
SpaceX มีแผนที่จะเปิดตัวภารกิจอวกาศในปี 2020 ด้วยการปล่อยชุดดาวเทียม Starlink โดยภารกิจหลักจะเป็นดาวเทียมสื่อสารบรอดแบนด์ของโลก Starlink จะประกอบไปด้วยดาวเทียมมากถึง 42,000 ดวง ที่โคจรรอบโลก โดยแต่ละจะมีตัวตรวจจับ (Sensor) เพื่อไม่ให้เกิดการชนกันระหว่างดาวเทียม
ภารกิจนี้ทำให้เกิดข้อกังวลในประเด็นเรื่องของการเกิดขยะอวกาศ (Space Debris) บริษัทฯ จึงได้มีแผนรองรับโดยจะเคลือบดาวเทียมด้วยวัตถุกันสะท้อน ผลคือดาวเทียมเหล่านั้นจะไม่รบกวนการสำรวจทางดาราศาสตร์ (Astronomical Observations)
SpaceX ยังคงมีภารกิจจรวด Falcon Heavy จรวดที่มีสมรรถภาพที่มีกำลังมากที่สุดในปัจจุบัน มีกำหนดการจะปล่อยในช่วงปลายปีนี้ อีกทั้ง SpaceX จะดำเนินการพัฒนาโครงการต้นแบบยาน Starship Mk3 สำหรับการสำรวจห้วงอวกาศอีกด้วย
6. ยานฉางเอ๋อ 5 ของจีน ภารกิจส่งตัวอย่างวัตถุจากดวงจันทร์
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/06.png)
จากความสำเร็จของยานฉางเอ๋อ 4 ยานจอดและยานสำรวจได้ลงจอดบนพื้นผิวดวงจันทร์อย่างปลอดภัย ณ บริเวณ Mons Rümker ซึ่งเป็นภูเขาบริเวณแหล่งแร่บะซอลต์บนดวงจันทร์ที่ชื่อว่า Oceanus Procellarum ภารกิจการส่งตัวอย่างวัตถุจากดวงจันทร์มายังโลกเพื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์ของยานฉางเอ๋อ 5 หากประสบสำเร็จ จะนับว่าเป็นภารกิจแรกในรอบ 48 ปี ที่ได้นำวัตถุตัวอย่างจากดวงจันทร์มายังโลก ต่อจากเมื่อครั้งภารกิจของยาน Apollo ในปี 1972
7. เครื่องบินอวกาศ X-37B ของกองทัพอากาศสหรัฐฯ
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/07.png)
กองทัพอากาศสหรัฐฯ จะมีการเปิดตัวเครื่องบินอวกาศ (Space Plane) X-37B หรือ Orbital Test Vehicle ในปีนี้ เป็นภารกิจที่หกของยานไร้ลูกเรือ (Uncrewed Vehicle) ที่จะสามารถอยู่ในอวกาศได้สูงสุด 1 ปี โดยก่อนหน้านั้นมีเครื่องบินอวกาศ X-37 ได้กลับสู่พื้นโลกหลังจากทำลายสถิติที่อยู่บนห้วงอวกาศได้ถึง 780 วัน
8. Virgin Galactic
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/08.png)
ในปี 2019 Virgin Galactic ได้เปิดตัวผู้โดยสารทดสอบคนแรกสู่อวกาศ บริษัทฯ จะเริ่มเปิดตัวเที่ยวบินท่องอวกาศแบบเชิงพาณิชย์ในปี 2020
เที่ยวบินมีกำหนดการช่วงกลางปีนี้ โดยจะปล่อยจรวดจากฐาน Spaceport America ในเมือง New Mexico ซึ่งราคาของตั๋วโดยสารจะอยู่ที่ $ 250,000 ต่อคน หรือประมาณ 7,500,000 บาท ยานอวกาศ SpaceShipTwo สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้สูงสุดจำนวน 8 คน โดยประกอบไปด้วยนักบินอวกาศจำนวน 2 คน และผู้โดยสารจำนวน 6 คน
9. Blue Origin
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/09.png)
(Image: © Blue Origin)
Blue Origin เป็นกิจการอวกาศโดยบริษัทเอกชน ที่ก่อตั้งโดย Jeff Bezos เศรษฐีพันล้านจากอเมซอน (Amazon) ได้เปิดตัวเที่ยวบินของยานอวกาศ New Shepard ในปี 2019 จำนวน 3 เที่ยวบิน ยังคงดำเนินการที่จะนำมนุษย์สู่อวกาศในปี 2020
New Shepard ประกอบด้วยบูสเตอร์ (Booster) แบบนำกลับมาใช่ใหม่ได้ และแคปซูลโดยสาร (Crew Capsule) ที่ออกแบบเพื่อรองรับผู้โดยสารสูงสุด 6 คน หรือน้ำหนักเทียบเท่ารวมช่วงทดลอง การทำ Suborbital บูสเตอร์จะเคลื่อนที่ในแนวดิ่งเมื่อถูกปล่อยและลงจอด และกลับสู่พื้นโลกโดยแคปซูลโดยสารด้วยการปล่อยร่ม (Parachutes)
10. Virgin Orbit
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2020/01/10.png)
Virgin Orbit เป็นบริษัทปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก โดยมีภารกิจที่จะปล่อยอุปกรณ์ Payload สู่วงโคจรโดยใช้ LauncherOne ซึ่งเป็นจรวดแบบ Air-launched Booster ที่จะถูกลำเลียงไปยังตำแหน่งการปล่อยโดย Cosmic Girl เครื่องบิน Boeing 747 Jumbo Jet ที่มีการดัดแปลงขึ้นเพื่อภารกิจนี้
ที่มาของข่าว : https://www.space.com/space-missions-to-watch-2020.html