Alexander Gerst นักอวกาศของ ESA ได้เยี่ยมชม Thales Alenia Space ในเมือง Turin เมื่อไม่นานมานี้เพื่อทดสอบและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับที่พักสำหรับด่านหน้าของมนุษย์ในอวกาศต่อไปนั่นคือ Lunar Gateway
Thales Alenia Space เป็นผู้ผลิตอากาศยานฝรั่งเศส-อิตาลีมีความเชี่ยวชาญในด้านอุตสาหกรรมอวกาศ และเป็นผู้ผลิตดาวเทียมรายใหญ่ที่สุดในยุโรป
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220224-15-1024x487.png)
ตามชื่อที่บอกไว้เกตเวย์ (Gateway) จะอยู่ภายในวงโคจรของดวงจันทร์ กำลังสร้างขึ้นและพัฒนาโดย Thales Alenia Space ในนามของ ESA ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ Lunar Gateway คือ International Habitation Module หรือ I-Hab
เนื่องจากห้องพักของลูกเรือได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงมนุษย์เป็นหลัก Alexander จึงได้ไปชมแบบจำลองและเข้าไปในเครื่องจำลอง Crew Quarter Compartment simulator เพื่อให้ข้อเสนอแนะจากประสบการณ์ หลังจากที่เดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติมาแล้ว 2 ภารกิจรวม 362 วันในอวกาศ
Alexander ได้เข้าไปในเครื่องจำลอง Crew Quarter Compartment Simulator ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับขนาดห้องของลูกเรือและอธิบายสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้ลูกเรือสามารถทำกิจกรรมส่วนตัวได้ ช่วยให้ Alexander ได้สัมผัสกับสภาพแวดล้อมและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปริมาตรที่สามารถอาศัยอยู่ได้ของห้องที่ลูกเรือจะใช้สำหรับกิจกรรมส่วนตัว รวมทั้งการนอนหลับและช่วงเวลาส่วนตัวในการติดต่อสื่อสาร
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220224-16-1024x670.png)
การมีส่วนร่วมของนักอวกาศในกระบวนการออกแบบโมดูลช่วยให้วิศวกรสามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของนักอวกาศบนสถานีอวกาศนานาชาติ ข้อเสนอแนะของนักอวกาศจะเป็นแนวทางในขั้นตอนการออกแบบต่อไป เพื่อสนับสนุนแนวทางที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง
I-Hab เป็นส่วนสำคัญของเกตเวย์ และเมื่อรวมกับโมดูลสื่อสารและโมดูลเติมเชื้อเพลิง (ESPRIT) และโมดูลบริการสำหรับอวกาศยาน Orion ซึ่งยุโรปกำลังพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นพันธมิตรที่สำคัญในโครงการ Artemis และการนำมนุษยชาติกลับไปดวงจันทร์อีกครั้ง
ที่มา :
https://www.esa.int/ESA_Multimedia/Images/2022/02/Getting_ready_for_lunar_orbit
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง