![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220217-1-1024x683.jpg)
การจัดหาอาหารให้กับนักอวกาศนั้นมีราคาแพง นักอวกาศแต่ละคนต้องการอาหาร 1.8 กิโลกรัมต่อวันโดยประมาณ สำหรับภารกิจระยะยาว เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการจัดหาอาหารสำหรับนักอวกาศจึงได้มีแนวคิดฟาร์มในอวกาศ หรือ Space Farming นอกจากประโยชน์ทางด้านอาหารแล้ว Space Farm ยังมีประโยชน์ทางด้านการจัดการสภาพแวดล้อมอีกด้วยเนื่องจากพืชสามารถนำมาบำบัดน้ำเสีย สร้างออกซิเจน ทำให้มีอากาศที่บริสุทธิ์ และช่วยรีไซเคิลอุจจาระ พืชผลเพียง 10 ตร.ม.สมารถผลิตออกซิเจนได้ถึง 25% ของความต้องการจากมนุษย์หนึ่งคน โดยพื้นฐานแล้ว Space Farm จะเปลี่ยนอวกาศยานให้กลายเป็นรบบนิเวศเทียม
Space Farm จะทำให้ภาวะการขาดแคลนวิตามินจากการรับประทานอาหารอวกาศลดลงได้ และยังทำให้อากาศมีความสด รสชาติและเนื้อสัมผัสที่ดีขึ้น อากาศส่วนใหญ่ในปัจจุบันที่จัดหาให้กับนักอวกาศได้ผ่านกระบวนการทางความร้อน หรือทำให้แห้งแบบแช่แข็ง ทั้งสองวิธีเป็นการเตรียมอาหารไว้ล่วงหน้า การเก็บรักษาเป็นเวลานานอาจทำให้วิตามินมีการเสื่อมสภาพได้ การผลิตอาหารเป็นงานที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญ แต่ความจริงแล้วเป็นงานที่สำคัญและต้องใช้แรงงานมากที่สุดของการตั้งอาณานิคมในช่วงแรก ซึ่งทาง NASA กำลังค้นคว้าวิธีการและความเป็นไปได้ของการสร้าง Space Farm หรือ ฟาร์มอวกาศให้สำเร็จ
สิ่งที่สร้างผลกระทบต่อการที่พยายามจะทำการเกษตรนอกโลกต้องเจอคือการที่ แรงโน้มถ่วง แสง ความดัน ที่ลดลง พืชที่ปลูกบนอวกาศยานจะต้องพบกับสภาพไร้แรงโน้มถ่วง หากเป็นพืชที่ปลูกบนดาวอังคารจะพบกับแรงโน้มถ่วง 1 ใน 3 ของโลก แต่อย่างไรก็ดีพืชจะเติบโตได้ปกติเมื่อได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปพืชที่ปลูกในอวกาศจะมีภาวะการเติบโตช้ากว่า และมีขนาดที่เล็กกว่าการปลูกพืชบนพื้นผิวของโลกอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงที่กล่าวมาแล้ว การปลูกพื้นบนดาวอังคารจะได้รับรังสีที่สูงกว่าบนโลก สภาพแวดล้อมที่มีความกดอากาศที่ต่ำของพื้นผิวดาวอังคารก็มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชเช่นกัน ดินบนดาวอังคารมีแร่ธาตุที่สำคัญแต่การเจริญเติบโตของพืชยกเว้นไนโตรเจน จากการวิจัยพบว่าพืชสามารถอยู่รอดได้เป็นระยะเวลา 50 วันบนดินจากดาวอังคาร นับเป็นสัญญาณที่ดีของการทำ Space Farm ในอนาคตข้างหน้า
อ้างอิง https://www.popsci.com/science/nasa-plans-space-farms/
https://ift.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1750-3841.2010.01982.x
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศตรี วรวุฒิ เฟื่องคำ