![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/Earth-moon-1024x565.jpg)
อวกาศยานที่เกี่ยวข้องในภารกิจของ 2020 Chang’e-5 Lunar Sample-return Mission หรือภารกิจการนำวัตถุตัวอย่างดวงจันทร์มายังโลก อยู่ในวงโคจรรอบดวงจันทร์เป็นเวลามากกว่า1 ปี หลังจากดำเนินภารกิจหลักเสร็จสิ้น
ส่วนของ Service Module ที่ทำหน้าที่หลักในการนำส่งวัตถุตัวอย่างจากดวงจันทร์ขนาด 1.731 กิโลกรัมมายังโลกเมื่อ ธ.ค.63 ขณะนี้อยู่ในวงโคจรแบบ Distant Retrograde Orbit (DRO) เคลื่อนที่รอบดวงจันทร์ อ้างอิงข้อมูลจากรายงานของ Amateur Satellite Trackers
ทั้งนี้ทางการจีน ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดข้อมูลล่าสุดของภารกิจ Chang’e-5 ตั้งแต่ พ.ค.64 ล่าสุดในครั้งนั้นได้เผยแพร่ภาพที่อวกาศยานภายใต้ภารกิจ China Lunar Exploration Program ทำการจากอวกาศห้วงลึก อย่างไรก็ตามนักติดตามดาวเทียมสมัครเล่น Scott Tilley รวมถึง Jean-Luc Milette และ Edgar Kaiser ซึ่งได้ติดตามการเคลื่อนที่ของอวกาศยานในภารกิจ Chang’e-5 ได้ให้หลักฐานที่แสดงถึงการเคลื่อนที่ไปยังวงโคจรใหม่หลักจากที่ได้ติดตามมาเป็นระยะหลายเดือน
ในวงโคจร DRO ทำให้เห็นอวกาศยานได้มีปฏิกิริยาต่ออาณาเขตที่มีความโน้มถ่วงคงที่ (Gravitationally Stable Area จำนวน 2 แห่งคือ ส่วนอยู่ด้านหน้า และหลังดวงจันทร์เมื่อเทียบกับโลก ซึ่งระยะห่างของอวกาศยานจากดวงจันทรระยะนั้นจะใช้เวลาโคจรรอบดวงจันทร์ครบรอบทุกๆ 2 สัปดาห์
วงโคจรดังกล่าวไม่เคยถูกใช้มาก่อน แต่ได้ถูกวางแผนให้ใช้สำหรับภารกิจ Artemis 1 ภารกิจสำรวจดวงจันทร์ของ NASA อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่าจีนกำลังวางแผนทำการทดสอบ DRO อย่างไร แต่ก่อนหน้านี้ภารกิจดวงจันทร์ของ Chang’e ที่ได้ถูกส่งไปเพื่อเป็นการเพิ่มคุณค่า หรือแม้กระทั่งเป็นการทดสอบที่สำคัญสำหรับภารกิจตามหลัง หรืออาจคำใบ้แรกว่าจีนกำลังพิจารณาภารกิจลงจอดบนดวงจันทร์ทางไกลที่ยัง ไม่ได้เผิดเผยในภารกิจ Chang’e-4 หรือส่วนของ Upper Stage ของจรวด Long March 3C ถูกตั้งให้กระทบพื้นผิวดวงจันทร์โดยบังเอิญก็ได้
ที่มา https://spacenews.com/a-chinese-spacecraft-is-testing-out-a-new-orbit-around-the-moon/
แปลและเรียบเรียงโดย จ.อ.ธวัชชัย หันจันทร์