จุดลากรางจ์ที่ได้กล่าวไปนั้น ครั้งนี้จะกล่าวถึง L1 ของโลกกับดวงอาทิตย์ จุด L1 ตั้งอยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ จุดนี้ไม่นับว่าเป็นจุดที่มีผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงโลกที่สามารถดึงกลับมาได้ โดย L1 ห่างจากโลกประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตร เปรียบเทียบกับรัศมีการรับผลกระทบจากแรงโน้มถ่วงของโลก ที่ทำให้สามารถโคจรรอบโลกได้หรือเรียกว่า Sphere of Influence (SOI) ในระยะประมาณ 1 ล้านกิโลเมตร และไม่นับว่าเป็นวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ เช่นกัน
จุด L1 จุดแรงโน้มถ่วงอยู่ตำแหน่งที่หน้าโลกสำผัสกับแสงอาทิตย์พอดี และในระยะห่างนี้จะไม่มีการเข้าสู่เงามืดเนื่องจากการบดบังของโลกและดวงจันทร์ จึงมีประโยชน์ต่อการสำรวจดวงอาทิตย์อย่างยิ่ง อวกาศยาน Solar and Heliospheric Observatory หรือ SOHO เริ่มภารกิจถูกนำส่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2538 ไปโคจรรอบจุด L1 ซึ่งได้บรรจุ Payload ทางวิทยาศาสตร์จากความร่วมมือของนักวิทยาศาสตร์ระหว่างสหรัฐอเมริกา และประเทศแถบยุโรปเพื่อศึกษาพฤติกรรมของดวงอาทิตย์ ทั้งนี้ อวกาศยาน SOHO ได้ปฏิบัติงานแล้วมากกว่า 20 ปี
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/SOHO.jpg)
อวกาศยาน SOHO มีผลงานในการสำรวจดวงอาทิตย์จาก Payload ที่คลอบคลุมการตรวจสัญญาณคลื่นประเภทต่างๆ ที่ดวงอาทิตย์แผ่รังสีออกมา นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการศึกษาส่วนประกอบของดวงอาทิตย์รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบดวงอาทิตย์ และเป็นหนึ่งในอวกาศยานที่ใช้พยากรณ์การแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อสนามแม่เหล็กของโลกซึ่งกระทบกับระบบภายในดาวเทียมที่โคจรรอบโลก ดังนั้นอวกาศยาน SOHO เป็นหนึ่งในการแจ้งเตือนสภาพอวกาศถึงรังสีอันตรายต่อดาวเทียมที่ใช้งานอยู่ ทำให้ดาวเทียมทั้งหมดรอบโลกจำนวนนับหลายพันดวงสามารถเตรียมตัวรับมือได้
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/พลาสมา-602x1024.jpg)
นับว่าจุด L1 มีประโยชน์ต่อการสำรวจดวงอาทิตย์ ปฏิวัติฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับอวกาศ รวมถึงให้เล็งเห็นถึงความอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์กับอวกาศยานที่เดินทาง จากการมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ตลอดเวลาโดยการโคจรรอบจุด L1 แล้ว ต่อมาจะกล่าวถึงในการสำรวจที่ไม่ต้องการให้ได้รับแสงรบกวนจากดวงอาทิตย์ในครั้งต่อไป โปรดติดตาม