สาธารณรัฐอินเดียยิงนำส่งส่งดาวเทียมสำรวจโลก Earth Observation Satellite 4 (EOS-4) เข้าสู่วงโคจรเป็นภารกิจอวกาศครั้งแรกของปี พ.ศ. 2565 พร้อมกับดาวเทียมดาวเทียมขนาดเล็กอีก 2 ดวงด้วยจรวดนำส่ง Polar Satellite Launch Vehicle (PSLV) สร้างโดยองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220214-3-1024x662.jpg)
การยิงนำส่งดาวเทียมครั้งก่อนขององค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (ISRO) คือดาวเทียม EOS-03 ประสบความล้มเหลวระหว่างจรวดยกตัวขึ้นในเดือนสิงหาคม 2564 เนื่องจากความผิดปกติทางเทคนิค เครื่องยนต์จรวดส่วนสุดท้ายไม่สามารถจุดระเบิดได้
ดาวเทียม EOS-03 ถูกยิงนำส่งด้วยจรวด Geosynchronous Satellite Launch Vehicle (GSLV) และไม่ได้ใช้งานอีกเลยตั้งแต่ภารกิจล้มเหลว ซึ่งจรวด GSLV ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดได้ยิงนำส่งครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ.2561 ตามบันทึกของ ISRO
Payload หลักของภารกิจคือดาวเทียม EOS-04 จะถูกนำส่งเข้าสู่วงโคจรแบบ Sun-synchronous ที่ระดับความสูง 529 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งเป็นวงโคจรที่สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ให้แสงสม่ำเสมอสำหรับการถ่ายภาพง่ายต่อการเปรียบเทียบได้ว่าที่ใดที่หนึ่งเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220214-4-1024x682.jpg)
Payloads บนจรวดนำส่งมีดาวเทียมขนาดเล็กอีกจำนวน 2 ดวง คือดาวเทียมนักเรียน INSPIREsat-1 จากสถาบัน Indian Institute of Space Science & Technology ร่วมกับมหาวิทยาลัย Colorado Boulder ภารกิจตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดคือทำการวัดปริมาณบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์เพื่อตรวจดูก๊าซร้อนยวดยิ่ง (Plasma) และวัดค่าการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ดาวเทียมอีกดวงหนึ่งคือดาวเทียมสาธิตเทคโนโลยี INS-2TD จาก ISRO และในขณะเดียวกันจะเป็นต้นแบบขั้นเริ่มต้นให้ภารกิจดาวเทียมร่วมอินเดีย – ภูฏาน หรือ INS-2B
การยิงนำส่งเพิ่มเติมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปีนี้ ได้แก่ อวกาศยานลงจอดดวงจันทร์ Chandrayaan-3 ภารกิจศึกษาดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า Aditya-L1 และดาวเทียมสำรวจโลกอีกดวงที่ชื่อ EOS-06 หรือ Oceansat-3
ที่มา : https://www.space.com/india-pslv-rocket-eos-4-satellite-launch-february-2022
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง