![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/1-1.png)
วันที่ 9 ก.พ.65 ตามเวลาประเทศไทย บริษัท SpaceX ออกมากล่าวว่าดาวเทียท 49 ดวงที่ถูกนำส่งไปเมื่อวันที่ 3 ก.พ. ที่ผ่านมานั้น ถูกรบกวนโดยพายุสุริยะในวันหลังจากวันเริ่มภารกิจนำส่ง พายุนี้เกิดจากกระบวนการของดวงอาทิตย์เหมือนกับการปล่อยมวลจากบรรยากาศชั้นโคโรนาของดวงอาทิตย์ หรือเรียกว่า Coronal Mass Ejection (CME) สามารถเพิ่มความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก รวมถึงวงโคจรระดับต่ำวงโคจรแรกที่ใช้ตรวจสอบและเตรียมดาวเทียม Starlink ก่อนเพิ่มความสูงไปยังวงโคจรที่ใข้ปฏิบัติการ
ทางบริษัท SpaceX กล่าวถึงเรื่องนี้อีกว่า การที่ระบบ GPS ของดาวเทียมแนะนำให้เพิ่มความเร็วอย่างฉับพลัน และพายุสุริยะรุนแรงที่มีผลต่อความหนาแน่นของชั้นบรรยากาศ โดยเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซนต์เทียบกับการนำส่งในหลายครั้งที่ผ่านมานั้น ทีมงานได้ส่งคำสั่งดาวเทียมเข้าสู่ Safe mode เพื่อที่จะเดินทางแบบเก็บแผงโซลาร์เซลล์เพื่อที่จะลดแรงต้านอากาศ และดำเนินการต่อไปอย่างใกล้ชิดกับฝูงควบคุมทางอวกาศที่ 18 กองทัพอวกาศสหรัฐ และบริษัท LeoLabs ในการประสานข้อมูลของดาวเทียมจากเรดาห์ภาคพื้น
ปัจจัยที่ความรุนแรงทวีมากขึ้นคือ ระดับความสูงของวงโคจรระดับต่ำที่ใช้ในการปล่อยดาวเทียมของ SpaceX มีจุดต่ำสุดของวงโคจรหรือ จุด Perigee ทึความสูง 210 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกเท่านั้น บริษัทได้กล่าวว่ามีความตั้งใจใช้วงโคจรรูปแบบนี้กับอวกาศยาน เพราะเมื่อทดสอบแล้วเกิดล้มเหลวที่หลังจากขึ้นสู่วงโคจรแล้วจะสามารถกลับเข้าสู่โลกอย่างรวดเร็ว
Safe mode ของอวกาศยานจะรักษาดาวเทียมเพื่อเลี่ยงการปรับวงโคจรให้มีความสูงมากขึ้นจากการใช้ตัวขับเคลื่อนไฟฟ้า แต่ระบบนี้ยังไม่ตอบสนองกับแรงต้านอากาศที่เพิ่มขึ้นได้ โดยการวิเคราะห์เบื้องต้นแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของแรงต้านอากาศของดาวเทียมในความสูงต่ำ ทำให้ดาวเทียมออกจสาก Safe mode และเข้าสู่โหมดการปรับวงโคจร และดาวเทียมอาจมากถึง 40 ดวงจะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกหรืออาจมีดาวเทียมที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเรียบร้อย
SpaceX ได้เสริมอีกว่าการเคลื่อนที่ของดาวเทียมเหล่านี้จะไม่มีอันตรายต่ออวกาศยานอื่นในวงโคจร และอวกาศยานออกแบบให้ถูกเผาทั้งหมดในการเข้าสู่โลก
พายุสุริยะที่เกิดขึ้นนั้น ทาง SpaceX ได้ตรวจสอบการแจ้งเตือนก่อนการนำส่ง และเก็บข้อมูลระหว่างการนำส่ง ซึ่งได้รับข้อมูลพายุขนาดเล็ก โดยเมื่อวันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้คาดการณ์ว่าจะมีพายุสุริยะกำลังปานกลางในระดับ G2 ในสเกลตั้งแต่ G1 ถึง G5 ต่อมาก็ลดลงเหลือระดับ G1 ซึ่งต่ำที่สุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ. หน่วยการนำส่งทางอวกาศเดลตา 45 กองทัพอวกาศสหรัฐได้พยากรณ์สภาพอวกาศ (Space Weather) ว่ามีความเสี่ยงต่ำในการพยากรณ์ครั้งสุดท้ายก่อนนำส่ง ผู้ปฏิบัติงานดาวเทียมอื่นยังไม่มีการรายงานปัญหาจากอวกาศยานของตน แตกต่างจากดาวเทียมที่มีต่ำแหน่งแปลกในวงโคจรระดับต่ำมาก
วัฏจักรสุริยะ (Solar Cycle) ครั้งนี้อุบัติขึ้นท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าของการนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กในวงโคจรระดับต่ำ มีหลายดวงไม่ได้ปรับแต่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อทนรังสีโดยเฉพาะที่มีราคาแพง ในการนำเสนอที่สัมนาดาวเทียมขนาดเล็กวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา Carissa Christensen ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารบริษัท Bryce Space and Technology ได้กล่าวว่าจำนวนดาวเทียมที่ประจำการอยู่เติบโตขึ้นจากประมาณ 1,000 ดวงใน 5 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบันมีอยู่มากกว่า 5,000 ดวง
ที่มาของภาพและข่าว: https://spacenews.com/dozens-of-starlink-satellites-from-latest-launch-to-reenter-after-geomagnetic-storm/
แปลและเรียบเรียง: ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์