ผู้อ่านหลายท่านเคยได้อ่านบทความ ที่เกี่ยวกับดาวเทียม Cubsat มาหลายบทความแล้ว วันนี้กระผมจะขอนำเสนอ ดาวเทียมที่มีขนาดมวลน้อยกว่า Cubsat ทั่วไป ซึ่งเป็นดาวเทียมที่พัฒนามาจาก ตระกูล Delfi ของ มหาวิทยาลัย Delft ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
Delfi‑PQ คือ PocketQube แบบ 3 U ด้วยมวล 0.6 กก. และกำลังเฉลี่ยโคจร 1 วัตต์ จึงมีขนาดเล็กกว่ารุ่นก่อนมาก เป็นจุดเริ่มต้นของ PocketQubes ที่ได้รับการพัฒนาซ้ำๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้ในภารกิจใหม่และที่คาดไม่ถึงด้วยเครือข่ายแบบกระจายของ PocketQubes Delfi‑PQ ประกอบด้วยแพลตฟอร์มหลักที่มีการรักษาความปลอดภัยของฟังก์ชันพื้นฐานที่จะค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ ระบบจะพัฒนาระบบย่อยขั้นสูงและ Payload เป็นส่วนแยกกันโดยใช้ข้อกำหนดอินเทอร์เฟซมาตรฐาน การกำหนดค่าขั้นสุดท้ายของดาวเทียมจะยังคงเปิดอยู่จนกว่าจะมีการประกอบก่อนเปิดตัว Delfi‑PQ เปิดตัวในปี 2019 ในเที่ยวบินแรกของ Vector‑R
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220203-1.png)
โดยทั่วไป Delfi-PQ จะปฏิบัติภารกิจการทดลอง โดยมันจะมีขนาด 3 U แต่มีน้ำหนักเพียง 0.6 กิโลกรัม และยังใช้พลังงานเพียง 1 Watt เท่านั้น
ซึ่งมันจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาดวงเทียมดวงต่อๆ ไป
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220203-2.png)
Delfi-PQ ระบบ Micropropulsion Systems ที่เล็กที่สุดในโลก โดยอ้างอิง MEMS resistojet ที่พัฒนาโดย TU Delft
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220203-3.png)
Delfi-PQ มีระบบ พลังงานคือ มี Solar Cells ติดตั้ง ภายนอก และต่อตรงไปยัง แบตเตอรี่
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220203-4.png)
ระบบควบคุมดาวเทียม หรือ On Broad Computer ใช้เป็นแบบ Single Broad โดยเชื่อมต่อแบบ RS-485 ไปยังระบบย่อย
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220203-5.png)
ระบบสื่อสารนั้นใช้ระบบ System-on-a-chip โดยสามารถ Modulation ได้หลายแบบ และมีอัตราการส่งข้อมูลได้ 300 kbit/s
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220203-6-1.png)
ระบบ Altitude Control นั้นใช้การควบคุมจาก 2 หน่วยการวัด 3 Magnetorquers ที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะ
ที่มา : https://www.tudelft.nl/lr/delfi-space/delfi-pq
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกทินวัฒน์ เมตตะธำรงค์