![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220201-2.jpg)
วงโคจรสุสาน มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ คือ Graveyard Orbit, Junk Orbit หรือ Disposal Orbit คือ วงโคจรสำหรับให้ดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานและไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ไปโคจร โดยมีระยะความสูงเหนือขึ้นไปอีกประมาณ 300 กิโลเมตรหรือมากกว่า จากวงโคจรค้างฟ้า หรือ Geostationary Earth Orbit (GEO) ซึ่งมีความสูง 35,786 กิโลเมตรเหนือเส้นศูนย์สูตร โดยวงโคจรสุสานนี้ที่มีความเร็วสำหรบการโคจรประมาณ 11 เมตรต่อวินาที
วัตถุประสงค์ของวงโคจรสุสาน คือการสงวนตำแหน่งในวงโคจรค้างฟ้าให้กับดาวเทียมดวงอื่นเข้ามาโคจร และทำให้เกิดความปลอดภัยกับดาวเทียมที่ยังปฏิบัติงาน
การออกแบบดาวเทียมจะต้องออกแบบให้มีเชื้อเพลิงสำรองสำหรับการจุดเผาไหม้ (Burn) ให้ดาวเทียมเคลื่อนที่ไปอยู่ในวงโคจรสุสานในช่วงท้ายของการใช้งานซึ่งเรียกว่า การ Re-Orbiting บางครั้งอาจจะกำหนดเวลาช่วงสุดท้ายของการทำงานดาวเทียมและการส่งดาวเทียมไปที่วงโคจรนี้
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220201-3.jpg)
สำหรับความสูงของวงโคจรสุสาน หน่วยงาน Inter-Agency Space Debris Coordination Committee (IADC) กำหนดความสูงเหนือจากวงโคจรค้างฟ้าเท่ากับ 235 กิโลเมตรรวมกับอัตราส่วนระหว่างพื้นที่และมวลของดาวเทียมคูณกับค่า Solar Radiation Pressure Coefficient และคูณด้วยตัวเลข 1000 ทำให้ทราบว่าความสูงของวงโคจรสุสานเหนือวงโคจรค้างฟ้ามากกว่า 235 กิโลเมตร ทั้งนี้ขึ้นกับการคำนวณตามคุณสมบัติของดาวเทียมแต่ละดวง
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/02/20220201-4.png)
วงโคจรค้างฟ้าเป็นวงโคจรเฉพาะรูปแบบของวงโคจร Geosynchronous Orbit (GSO) ซึ่งเป็นวงโคจรที่มีคาบ (Period) หรือระยะเวลาที่ดาวเทียมหรือวัตถุอวกาศเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบเท่ากับระยะเวลาของโลกหมุนรอบตัวเองหนึ่งรอบ หรือประมาณ 24 ชั่วโมง โดยที่วงโคจรค้างฟ้าเป็นวงโคจรประเภท Geosynchronous Orbit ที่มีมุมระนาบเอียง (Inclined Angle) เท่าศูนย์องศาเมื่อเทียบกับแนวเส้นศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ทำให้แนววงโคจรนี้เคลื่อนที่เหนือเส้นศูนย์สูตร (Equator) ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งของวงโคจรค้างฟ้าจึงเป็นที่ต้องการของดาวเทียมสำหรับการพิกัดตำแหน่งลงมาบนพื้นโลก ทำให้ต้องมีหน่วยงานกำกับการกำหนดตำแหน่งในวงโคจรค้างฟ้าเพื่อไม่ให้เกิดการทับซ้อนกันในวงโคจร ดังนั้นเมื่อดาวเทียมซึ่งโคจรในวงโคจรนี้หมดอายุการใช้งาน จึงต้องมีการดำเนินการส่งออกไปอยูที่วงโคจรอื่นคือวงโคจรสุสาน
กล่าวโดยทั่วไป วงโคจรที่มีความสูงมากกว่าวงโคจรค้างฟ้า เรียกว่า Supersynchronous Orbit เป็นวงโคจรที่มีความสูงเหนือขึ้นไปจากวงโคจร Geosynchronous Orbit ดังนั้นวงโคจรสุสานที่มีความสูงประมาณ 300 กิโลเมตรจึงเป็นวงโคจรประเภท Supersynchronous Orbit
แปลและเรียบเรียง : พนม อินทรัศมี
วันอาทิตย์ ที่ 30 มกราคม 2564
ข้อมูลเพิ่มเติม :
Polzine, B. (2017). THE COLLISIONAL EVOLUTION OF ORBITAL DEBRIS IN GEOPOTENTIAL WELLS AND DISPOSAL ORBITS, Degree Master of Science in Aerospace Engineering. California Polytechnic State University. Retrieved from https://digitalcommons.calpoly.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=2920&context=theses
https://adsabs.harvard.edu/full/2005ESASP.587..373J
https://en.wikipedia.org/wiki/Supersynchronous_orbit
https://www.nesdis.noaa.gov/news/graveyard-orbits-and-the-satellite-afterlife
https://www.space.com/29222-geosynchronous-orbit.html
ที่มาของรูป :
https://phys.org/news/2017-04-satellites-die.html
https://www.scienceabc.com/
In order to eliminate collision risk, GEO satellites should be moved out of the geostationary ring at the end of their mission. It is recommended that their orbit should be raised by about 300 km, which is considered a safe distance to avoid future interference with active GEO spacecraft. The change in velocity that is required to raise the orbit altitude by 300 km is 11 meter/sec, and the required propellant corresponds to that necessary for three months of station keeping. This means spacecraft operators have to stop operations three months before the spacecraft runs out of fuel and give up considerable revenue in order to reorbit their spacecraft. However, today, this is the only possibility for preserving the unique resource of the geostationary ring.
———————————————————————————————————–
https://en.wikipedia.org/wiki/Graveyard_orbit