ภาพ Himadri Pandey นักศึกษาปริญญาเอก บัณฑิตสาขาวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยซินซินนาติ (UC) ประเทศอินเดีย แสดงดาวเทียมจำลองขนาด 1U ในห้องทดลองของมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสโมสรนักศึกษาที่เรียกว่า UC Cube Cats ซึ่งได้รับการสร้างโดยทีมวิศวกรของมหาวิทยาลัยฯ ที่กำลังพัฒนาระบบป้องกันการชนกัน ในอนาคตจะสามารถให้บริการ ผลิตหุ่นยนต์อัตโนมัติ อุตสาหกรรมการประกอบหรือผลิตดาวเทียมได้ในอนาคต
ปัจจุบันขยะอวกาศที่เป็นอันตรายเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มูลค่าหลายล้านเหรียญ ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก รอบวงโคจรโลกเรา การที่จะสร้างดาวเทียมดวงใหม่ เพื่อที่จะนำขึ้นสู่วงโคจรจะต้องคำนึงถึงปัญหานี้ด้วย
นักศึกษาปริญญาเอก UC College of Engineering and Applied Science Daegyun Choi และ Anirudh Chhabra นำเสนอโครงการของพวกเขา ที่งาน Science and Technology Forum and Exposition เมื่อมกราคม พ.ศ.2565 ที่ซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จัดงานโดย American Institute of Aeronautics and Astronautics เป็นงานประชุมด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศที่ใหญ่ที่สุดในโลก
โดยโครงการดังกล่าวได้มีการจัดเตรียมอัลกอริทึมป้องกันการชนที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีการทำงานแบบเรียล เพื่อทำให้ระบบอัตโนมัติปฏิบัติภารกิจได้อย่างปลอดภัย ให้กับระบบป้องกันการชนกันแบบใหม่ด้วยการใช้งาน Artificial Intelligence (AI) ปัญญาประดิษฐ์
แผนกวิศวกรรมการบินและอวกาศและกลศาสตร์วิศวกรรมของ UC เป็นหนึ่งในผู้นำด้านวิชาการ รัฐบาล และอุตสาหกรรมที่ทำงานเกี่ยวกับปัญหานี้ เรียกว่า การบริการ การประกอบ และการผลิตบนวงโคจร นวัตกรรมเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการยืดอายุการใช้งานของดาวเทียม การซ่อมแซมกล้องโทรทรรศน์ที่สำคัญ หรือการปรับปรุงความเป็นไปได้ของการสำรวจอวกาศ บริษัทวิเคราะห์อุตสาหกรรม Bryce Tech ระบุว่า ดาวเทียมเป็นตัวแทนประมาณหนึ่งในสามของเศรษฐกิจอวกาศทั่วโลกที่มีมูลค่า 371,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำไปใช้ในสถานที่ต่างๆ มากมาย แต่ไม่มากนักในด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ
นั่นเป็นเพราะว่าวิศวกรรมการบินและอวกาศค่อนข้างอนุรักษ์นิยม แต่ว่ามีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนไปเมื่อเทคโนโลยีอย่างระบบป้องกันการชนที่เขาและนักเรียนกำลังพัฒนาได้รับการพิสูจน์มากขึ้น
ปัญญาประดิษฐ์ AI ที่กำลังเกิดขึ้นใหม่นั้นใช้ข้อมูลทางฟิสิกส์มากกว่าที่จะพึ่งพาข้อมูลเพียงอย่างเดียว
ถ้าเรารู้พฤติกรรมทางกายภาพ เราก็สามารถใช้สิ่งนั้นได้เช่นเดียวกับข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหมายมากขึ้นและโมเดล AI ที่เชื่อถือได้
ที่มา : https://www.eurekalert.org/news-releases/940464
https://www.eurekalert.org/multimedia/814621
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.ยุทธนา สุพรรณกลาง