เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 มกราคม 2565 เวลา 1040 ตามเวลาท้องถิ่นมลรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา จรวดนำส่งฟอลคอน 9 ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ ได้ยิงนำส่งดาวเทียม ดาวเทียม 105 ดวง ลักษณะ Rideshare ขึ้นสู่อวกาศ
ภารกิจนี้มีชื่อว่า Transporter-3 สำหรับการยิงนำส่งดาวเทียม 105 ดวง จากบริษัทต่างๆ ขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกระดับต่ำ (Low Earth Orbit) ซึ่งถือว่าเป็นครั้งที่สามของการปฏิบัติภารกิจ Transporter ของจรวดนำส่งฟอลคอน 9 โดยครั้งที่สอง คือภารกิจ Transporter-2 เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ทีมีดาวเทียม NAPA-2 ของกองทัพอากาศเป็นหนึ่งในดาวเทียมที่ได้รับการส่งขึ้นไปด้วย
จรวดนำส่งฟอลคอน 9 ได้ยกตัว (Liftoff) จาก Space Launch Complex 40 ท่าอวกาศยาน Cape Canaveral Space Force Station มลรัฐฟลอริดา เวลา 10.25 ตามเวลาท้องถิ่น โดยเมื่อยิงนำส่งไปแล้ว 2 นาที 26 วินาที ส่วนที่หนึ่ง (Stage-1) ของจรวดฟอลคอน 9 ได้แยกตัวออกจากส่วนที่สอง (Stage-2) และเดินทางกลับมาลงที่ฐานในระยะ 8 นาที 30 วินานหลังจากบินนำส่ง ต่อจากนั้นจรวดนำส่งได้จุดระเบิดครั้งที่สอง และเมื่อผ่านประมาณ 59 นาที 44 วินาทีหลังจากการยกตัว จรวดนำส่งได้ทำการปล่อย Payload คือดาวเทียมออกที่วงโคจรสูงจากพื้นโลก 535 กิโลเมตร วงโคจร Sun-Synchronous โดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงอันเป็นการเสร็จสิ้นภารกิจ โดยในครั้งนี้ บริษัทสเปซเอ็กซ์ไม่สามารถยืนยันการดีดตัวออกของดาวเทียม 2 ดวงได้อันเนื่องมาจากการเป็นดาวเทียมขนาดเล็กหรือปัญหาด้านการสื่อสาร ทั้งนี้บริษัทจะดำเนินการตรวจสอบและแจ้งให้ทราบในภายหลังต่อไป
สำหรับส่วนแรก (First Stage) ซึ่งสามารถนำกลับมาใช้ได้ โดยเมื่อแยกตัวออกจากฟอลคอน 9 ได้กลับมาลงพื้น (Landing) บริเวณ Landing Zone 1 (LZ-1) ที่ Cape Canaveral ซึ่งเป็นการลงพื้นที่ฐานครั้งแรกของปีนี้ หลังจากมีการลงบนฐานเมื่อปีที่แล้วในภารกิจ Transporter-2 Rideshare เมื่อ 30 มิ.ย.2564 โดยในบางภารกิจได้ลงที่ Drone Ship กลางมหาสมุทรแอตแลนติก
เที่ยวบินนำส่งครั้งนี้นับเป็นเที่ยวบินที่ส่วนที่ 1 (Stage-1) หรือบูสเตอร์ (Booster) ของจรวดนำส่งฟอลคอน 9 ทำการบินเป็นเที่ยวบินที่ 10 นับตั้งแต่เริ่มใช้งานครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2563 ในภารกิจ Demo-2 Commercial Crew Mission สำหรับองค์การบริหารการบินและอวกาศสหรัฐอเมริกา (National Air and Space Administration หรือ NASA) หลังจากนั้นได้ยิงนำส่งในภารกิจต่างๆ เช่น ภารกิจนำส่งดาวเทียม Anasis-2 ภารกิจ CRS-21 Cargo 4 ภารกิจ Transporter-1 และภารกิจการส่งดาวเทียมสตาร์ลิงค์ 5 เที่ยวบิน และภารกิจครั้งนี้ Transportation-3
ครั้งนี้ได้ปฏิบัติภารกิจส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร 550 ดวง ซึ่งคล้ายกับภารกิจของ Cargo Dragon และ Crew Dragon ทำให้สามารถพบว่าบริษัทสเปซเอ็กซ์สามารถยิงนำส่งโดยเฉลี่ยทุกสองเดือนตั้งแต่เริ่มยิงนำส่งมา จึงทำให้พิจารณาได้ว่าการนำจรวด (Rocket) กลับมาใช้ (Reusable) เริ่มมีมากกว่าการทิ้งไปหลังการปฏิบัติภารกิจ
สำหรับดาวเทียม 105 ดวงทำการปล่อยในวงโคจรนั้น มีทั้งดาวเทียมของบริษัทเอกชนและภาครัฐ โดยเป็นดาวเทียม Cubesat ดาวเทียม Microsat ดาวเทียม PocketQube และ Orbital Transfer Vehicle และที่สำคัญมีดาวเทียมสังเกตการณ์โลก (Earth Observation) SuperDove จำนวน 44 ดวงของบริษัท Earth Observation Company Planet ซึ่งถือได้ว่าเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของบริษัทสเปซเอ็กซ์
ยังมีบริษัทอื่นที่ส่งดาวเทียมที่ไปในเที่ยวบินครั้งนี้ ได้แก่ บริษัท Spire ได้ส่งดาวเทียมเอนกประสงค์ (Multipurpose Satellite) Lemur จำนวน 4 ดวง บริษัท Kepler ส่งดาวเทียมสำหรับเพิ่มในกลุ่มดาวเทียม (Constellation) จำนวน 4 ดวง บริษัท Synthetic Aperture Radar Company Capella Space บริษัท Iceye และบริษัท Umbra ได้ส่งบริษัทละหนึ่งดวง
ด้วยแนวความคิดการส่งดาวเทียมลักษณะ Rideshare คือการส่งดาวเทียมของหลายบริษัทไปพร้อมกับดาวเทียมสตาร์ลิงค์ของบริษัทสเปซเอ็กซ์ ภายใต้ชื่อภารกิจ Transporter ทำให้การส่งดาวเทียมไปสู่อวกาศของบริษัทเปซเอ็กซ์มีลักษณะการนำส่งแบบต้นทุนต่ำ (Low Cost) จึงเป็นปัจจัยที่ได้เปรียบสำหรับการแข่งขันในธุรกิจการยิงนำส่งดาวเทียม โดยเฉพาะกับบริษัทขนาดเล็กที่สร้างและพัฒนาดาวเทียมซึ่งมีจำนวนมากขึ้นในปัจจุบัน
บริษัทสเปซเอ็กซ์มีแผนที่จะยิงนำส่งลักษณะ Rideshare อีกหลายครั้งในปี พ.ศ.2565 โดยคาดว่าจะมีการยิงนำส่งดาวเทียมภารกิจ Transporter-4 ในเดือนเมษายน ซึ่งมีบริษัท Kleos ประเทศลักเซมเบิร์กจะดำเนินการส่งดาวเทียมกลุ่มสำหรับเฝ้ามอง (Monitor) ความถึ่คลื่นวิทยุ ไปกับเที่ยวบินครั้งนี้
ที่มาของข่าวและภาพ :
https://www.spacex.com/launches/index.html
https://spacenews.com/spacex-launches-third-dedicated-smallsat-rideshare-mission/
แปลและเรียบเรียง โดย นาวาอากาศเอก พนม อินทรัศมี