โซยุซ (Soyuz) แปลว่า สหภาพ ในภาษารัสเซีย โครงการโซยุซเป็นโครงการอวกาศยานของมนุษย์สามารถปฏิบัติการได้ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของการสำรวจอวกาศ เที่ยวบินแรกที่มีลูกเรือขึ้นสู่อวกาศคือวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2510 แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะเริ่มก่อตั้งในช่วงต้นทศวรรษที่ 60 แต่มีการปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญโดยได้เริ่มส่งลูกเรือไปยังสถานี Salyut และ Mir ของสหภาพโซเวียตในขณะนั้น โซยุซเคยเป็นอวกาศยานเพียงชนิดเดียวที่สามารถขนส่งลูกเรือไปและกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติ และยังคงใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220113-1-1024x1024.png)
อวกาศยานโซยุซถูกปล่อยโดยจรวดของรัสเซียที่มีชื่อโซยุซเหมือนกัน ซึ่งประสบความสำเร็จในการยิงนำส่งรวมแล้วกว่า 1,680 ครั้ง ซึ่งรวมถึงดาวเทียมและอวกาศยานที่มีลูกเรือเดินทางไปด้วย โดยจรวดโซยุซและอวกาศยานโซยุซไม่สามารถใช้ซ้ำได้
อวกาศยานโซยุซมีน้ำหนัก 7 ตัน มีความยาว 7.2 เมตร และเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.7 เมตร เมื่อแผงโซลาร์เซลล์ขยายออก (ขณะนำส่งขึ้นสู่อวกาศแผงโซลาร์เซลล์จะยังไม่ขยายออก) อวกาศยานโซยุซจะมีขนาดกว้าง 10.6 เมตร สามารถบรรทุกนักอวกาศได้ถึง 3 คน
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220113-2.png)
โซยุซประกอบด้วย 3 โมดูลคือ
โมดูลโคจร (ส่วนปลายของอวกาศยาน) มีอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเทียบท่ากับสถานีอวกาศนานาชาติ และเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศ
โมดูลบริการ (ส่วนล่าง) จะขนส่งอุปกรณ์โทรคมนาคม อุปกรณ์ควบคุมระดับความสูง และอุปกรณ์เชื่อมต่อแผงโซลาร์เซลล์
โมดูลลงจอด (ส่วนกลาง) เป็นส่วนที่นักอวกาศใช้เดินทางขึ้นสู่อวกาศและเป็นส่วนเดียวที่กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก
การเดินทางของอวกาศยานโซยุซไปยังสถานีอวกาศนานาชาติใช้เวลา 6 ชั่วโมง หรือ 2 วัน ขึ้นอยู่กับรายละเอียดภารกิจ แต่ในทางกลับกันการเดินทางกลับจากอวกาศมายังพื้นโลกใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น โดยโมดูลจะตกลงสู่พื้นผิวโลกด้วยความเร็วน้อยกว่า 2 เมตร/วินาที
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220113-3.jpg)
อวกาศยานโซยุซรุ่นก่อนหน้าคือ TMA ซึ่ง A ตรงกับคำว่า Anthropometric เพราะในรุ่นนี้ มีข้อจำกัดในเรื่องความสูงของลูกเรือ เที่ยวบินครั้งแรกของ TMA (TMA-1) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และกลับสู่พื้นโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 แต่เกิดปัญหาขณะกลับเข้าสู่ชั้นบรรญากาศและลงจอดห่างจากจุดลงจอดที่วางแผนไว้ 460 กม. ซึ่งนักอวกาศที่อยู่ในนั้นไม่ได้รับบาดเจ็บ
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2022/01/20220113-4.png)
รุ่นปัจจุบันของโซยุซคืออวกาศยาน Soyuz MS คำว่า MS ย่อมาจาก Modified Systems หมายถึงการอัพเดทครั้งล่าสุดของอวกาศยานเป็นครั้งที่ 4 ซึ่งให้บริการมายาวนาน โดยมีการอัพเกรดอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีขนาดเล็กจำนวนมากเพื่อให้อวกาศยานมีน้ำหนักเบาและทันสมัยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น หลอดไฟฮาโลเจนถูกแทนที่ด้วย LED และแผงโซลาร์เซลล์ที่ใหม่กว่าและมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อเพิ่มการผลิตพลังงาน
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง