อวกาศยาน Yutu 2 ได้เริ่มต้นการสำรวจอีกครั้งในด้านไกลของดวงจันทร์ โดยภารกิจ Yutu 2 ได้นำส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวด Chang’e 4 ลงจอด ณ ด้านไกลของดวงจันทร์ในเดือน มกราคม ปี 2019 และได้ปฏิบัติงานแล้วเป็นเวลา 29 วันของดวงจันทร์ ซึ่งเปิดเผยโดยองค์กรสำรวจดวงจันทร์ของจีน (China Lunar Exploration Project) เผยเมื่อวันที่ 23 เม.ย.
ภารกิจของยานลงจอดและสำรวจได้เข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งเมื่อวันที่ 19 เม.ย. ก่อนดวงอาทิคย์ตกที่ดวงจันทร์ ซึ่งอวกาศยานต้องป้องกันจากอุณหภูมิเย็นที่ -180 องศาเซลเซียส และจะตื่นขึ้นมาจากสภาวะจำศีลตามดวงอาทิตย์ขึ้นบนดวงจันทร์ บนพื้นที่ปล่องภูเขาไฟ Von Kármán crater
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/05/20210513-4.png)
อวกาศยาน Yutu 2 ได้เคลื่อนที่มุ่งหน้าไปในทิศตะวันตกฉกเฉียงเหนือ และได้เคลื่อนที่ไปแล้ว 708.9 เมตร โดยได้เก็บข้อมูลไปในระหว่างเดินทางด้วยกล้องพาโนรามา ประกอบด้วยเรดาร์ กล้องคลื่นความถี่มองเห็น และกล้องความถี่เข้าใกล้อินฟราเรด ภารกิจนี้ได้ค้นพบชั้นของหินบนพื้นผิวใต้พื้นผิวบนดาวอังคารที่นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าเกิดมาจากการระเบิกของภูเขาไฟและการชนกันของอุกกาบาตในอดีต ในพื้นที่นี้เคยถูกสำรวจที่ได้การส่งวัสดุของหินในอวกาศเช่นเดียวกัน
ในการตื่นของอวกาศยานนี้ จะเริ่มดำเนินการเดินทางไปในทิศตะวันออกเฉียงเหนือในที่ที่นักวิทยาศาสตร์จะค้นพบหินบะซอลต์ในพื้นที่ใกล้เคียงที่จะรวบรวมข้อมูลในประวัติศาสตร์ของพื้นผิวของดวงจันทร์ได้
ที่มาของภาพและข่าว : https://www.space.com/china-yutu-2-moon-rover-chang-e-4-wake-up-may-202
แปลและเรียบเรียง : ร.ต.กันต์ จุลทะกาญจน์