ดาวหางลีโอนาร์ด (Leonard) ซึ่งเป็นดาวหางที่มีองค์ประกอบด้วย ฝุ่นอวกาศ หิน และน้ำแข็ง กำลังจะเคลื่อนตัวผ่านดวงอาทิตย์ในระยะใกล้ (Low Pass) ในวันจันทร์ที่ 3 ม.ค.64 โดยมีอวกาศยาน Solar Orbiter ขององค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา หรือ NASA คอยสังเกตการณ์
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/20211223-11-1024x901.png)
การเคลื่อนผ่านของดาวหางดวงดังกล่าว ได้รับการบันทึกเป็นภาพตลอดช่วงวันที่ 17-19 ธ.ค.64 โดย กล้อง Heliospheric Imager (SoloHI) ที่ได้รับการติดตั้งอยู่บนอวกาศยาน Solar Orbiter และสามารถระบุดาวหางลีโอนาร์ดกำลังเคลื่อนผ่านโดยมีฉากหลังของภาพเป็นกาแล็คซีทางช้างเผือก รวมถึงดาวพุธและดาวศุกร์ที่ปรากฏอยู่บริเวณมุมของภาพได้อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม กล้อง SoloHI จะทำการสังเกตการณ์ดาวหางดวงนี้จะกระทั่งมันเคลื่อนตัวออกจากเฟรมของกล้องในวันที่ 22 ธันวาคม จากนั้นจะนำข้อมูลที่ได้ไปทำการวิเคราะห์ให้ละเอียดถี่ถ้วนอีก
นอกจาก Solar Orbiter แล้ว กล้องโทรทรรศน์ที่ติดตั้งอยู่บนพื้นโลก รวมถึงอวกาศยานลำอื่น ๆ ก็ได้ทำการติดตามการเคลื่อนตัวของดาวหางดวงนี้อย่างใกล้ชิดและได้ทำการบันทึกภาพออกมาด้วยเช่นกัน
ดาวหางลีโอนาร์ดมีรหัสชื่ออย่างเป็นทางการคือ C/2021 A1 ถูกค้นพบโดยนายเกรกอรี ลีโอนาร์ด (Gregory Leonard) ด้วยหอดูดาวบริเวณยอดเขาเลมมอน (Lemmon) บริเวณรัฐอริโซนา โดยดาวหางดวงนี้จะเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ระยะ 90 ล้านกิโลเมตร ในวันที่ 3 ม.ค.64 และถ้าหากว่าดาวหางดวงนี้ไม่แตกสลายออกเป็นกลุ่มก้อนดาวหางดวงเล็ก ๆ ดาวดวงนี้จะถูกเหวี่ยงออกไปนอกระบบสุริยะจักรวาลและไม่มีวันหวนกลับมาอีก
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอวกาศยาน Solar Orbiter
อวกาศยาน Solar Orbiter ได้รับการนำส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศเมื่อ 10 ก.พ.63 และกำลังปฏิบัติภารกิจในการสำรวจบริเวณส่วนขั้วเหรือและใต้ ซึ่งจะช่วยไขปริศนาต่าง ๆ ของดวงอาทิตย์ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจความหนาแน่นของกัมมันตภาพรังสี หรือ อนุภาคพลังงานต่าง ๆ ที่ได้รับการปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์และถูกพัดออกโดยลมสุริยะ และได้สร้างผลกระทบให้กับโลกของเรานั่นเอง
แหล่งที่มา :
แปลและเรียบเรียง : ร.อ.ณัฐดนัย วิศิษฏ์โยธิน