![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/20211214-4.jpg)
นับตั้งแต่ก่อตั้ง สถานีอวกาศนานาชาติได้ใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์ขนาดใหญ่ ซึ่งมีความหนัก และซับซ้อน แต่ตามที่คาดไว้ แผงเหล่านี้ค่อยๆ เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา
แขนหุ่นยนต์ของสถานีได้คลี่ (Roll Out Solar Array : ROSA) ตัวแรกออกในปีค.ศ. 2017 โดยทำการทดสอบแนวคิดใหม่ที่ไม่เหมือนใคร ซึ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง
แทนที่จะเป็นแผงโซลาร์เซลล์แบบแข็ง ROSA ถูกสร้างขึ้นจากเส้นใยคาร์บอนคอมโพสิตที่มีแผงโซลาร์เซลล์ที่สามารถติดตั้งและหดกลับได้คล้ายกับเทปวัด โดยใช้พลังงานความเครียดที่เก็บไว้ของวัสดุ ROSA ซึ่งยังมีน้ำหนักเบาและสร้างพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ขณะนี้ เทคโนโลยี ROSA เวอร์ชันใหญ่หรือที่เรียกว่า iROSA ได้รับการติดตั้งบนสถานีอย่างถาวรผ่านชุดการปล่อยจรวดและทางเดินในอวกาศ โดยอาร์เรย์จะเสริมแหล่งจ่ายไฟที่มีอยู่และคืนพลังงานให้อยู่ในระดับก่อนหน้าเมื่อติดตั้งอาร์เรย์ดั้งเดิม
เทคโนโลยี ROSA เป็นส่วนสำคัญของการสำรวจในอนาคตเช่นกัน มันจะทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานสำหรับเกตเวย์ซึ่งเป็นด่านหน้าอเนกประสงค์ที่วางแผนไว้ โดยโคจรรอบดวงจันทร์ นอกจากนี้ยังช่วยส่งพลังงาน DART ซึ่งเป็นการทดสอบการเปลี่ยนเส้นทางดาวเคราะห์น้อยคู่ ขณะที่มันกำลังเข้าสู่ระบบดาวเคราะห์น้อย Didymos
ที่มา : https://science.nasa.gov/science-news/news-articles/the-power-of-the-stations-new-solar-arrays
ผู้แปลและเรียบเรียง : จ.ท.สุณัฏฐชา อักษรวงศ์