Galileo กลุ่มดาวเทียม (Constellation) ขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปได้ขยายจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการนำส่งดาวเทียมในกลุ่มดาวเทียมนำทาง Galileo จำนวน 2 ดวง ที่นำส่งด้วยจรวด Soyuz จาก Spaceport ณ เฟรนช์เกียน่า เมื่อ 5 ธันวาคม 64 เวลา 01.09 CET หรือประมาณ 07.09 น.เวลาประเทศไทย ดาวเทียม Galileo หมายเลข 27-28 ได้ถูกเพิ่มไปยังกลุ่มดาวเทียมเดิมที่มีอยู่จำนวน 26 ดวง ซึ่งให้บริการระบุตำแหน่งที่แม่นยำที่สุดโลก โดยมีผู้ใช้งานมากถึง 2.3 ล้านคนทั่วโลก
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/Galileo-27-28.jpg)
การนำส่งครั้งล่าสุดนับว่าเป็นการนำส่งครั้งที่ 11 ในรอบทศวรรตซึ่งช่วงเวลาที่ของการทำการบ้านอย่างหนักของ ภาคอุตสาหกรรมของยุโรป รวมถึงพันธมิตรของ Galileo โดยเริ่มแรกก่อตั้งขึ้นเป็นระบบการทำงาน แล้วจึงได้เริ่มให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ.2559 ด้วยกลุ่มดาวเทียมดังกล่าวนั้น ทีมงานและภาคส่วนต่าง ๆ กำลังเพิ่มความแข็งแกร่งของกลุ่มดาวเทียมเพื่อสามารถรับประกันสำหรับระดับของบริการที่สูงขึ้นได้
จรวด Soyuz VS-26 ปฏิบัติการโดย Arianespace และว่าจ้างโดองค์การอวกาศแห่งยุโรปหรือ Europe Space Agency (ESA) นำส่งดาวเทียมทั้ง 2 ดวง โดยแต่ละดวงมีน้ำหนัก 715 กิโลกรัม โดยขั้นตอนต่าง ๆ ของการนำส่งเป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ทั้งนี้ช่วงของ Fregat Upper Stage ได้ปล่อยดาวเทียมทั้งสองไปยังจุดกำหนดวงโคจรใกล้เคียงที่ระดับความสูง 23,525 กิโลเมตรจากพื้นโลก ใช้เวลา 3 ชั่วโมง 54 นาทีหลังจากยกตัวออกจากฐานปล่อยจรวด
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/ภาพจำลอง.jpg)
ดาวเทียมทั้งสองจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการเคลื่อนที่ไปยังวงโคจรสำหรับปฏิบัติการที่ 23,222 กิโลเมตร โดยใช้ระบบขับเคลื่อน หรือ Thruster ในดาวเทียม ในเวลาเดียวกัน กับที่ระบบต่าง ๆ บนบอร์ดในดาวเทียมจะค่อย ๆ ตรวจสอบระบบต่าง ๆ สำหรับการใช้งานจริง ซึ่งระยะนี้จะเรียกว่า Launch and Early Operations Phase (LEOP)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/Fregat-Upper-Stage.jpg)
สำหรับการนำส่งดาวเทียมในครั้งนี้ เป็นดาวเทียมจำนวน 2 จาก 12 ดวงที่ยังคงเหลือในรุ่นแรกของดาวเทียม Galileo เวอร์ชั่นที่ได้มีการพัฒนาจากออกแบบขีดความสามารถในการปฏิบัติการอย่างเต็มรูปแบบ หรือ Full Operational Capability design ซึ่งดาวเทียมแต่ละดวงจะถูกผลิตและทดสอบโดย OHB ในเยอรมัน ส่วน Payload ที่เกี่ยวกับระบบนำทางมากจาก Surrey Satellite Technology Ltd จากประเทศอังกฤษ และส่วนอื่น ๆ โดยความร่วมมือของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ก่อนจะถูกส่งไปยังจุดสุดท้าย คือการนำส่งที่เฟรนช์เกียน่า ดาวเทียมจะถูกทดสอบอย่างเข้มงวดที่ศูนย์การทดสอบ ESTEC ของ ESA ณ ประเทศเนเธอร์แลน์ ซึ่งเป็นศูนย์การทดสอบขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ซึ่ง ณ ปัจจุบัน มีดาวเทียมในกลุ่ม Galileo อีก 6 ดวงอยู่ระกว่างการทดสอบและจัดเก็บ เพื่อรอส่งไปยังอเมริกาใต้
ดาวเทียมในกลุ่ม Galileo ในรุ่นแรกที่เหลืออีก 10 ดวง จะถูกทยอยนำส่งในระยะ 3 ปี หลังจากนั้นดาวเทียมจะพัฒนา ทรงพลังมากขึ้น รวมถึงการ เพิ่มประสิทธิภพ และสร้างดาวเทียมนำทางที่สามารถตั้งค่าใหม่ ที่จะรู้จักในนามของดาวเทียม Galileo รุ่นที่ 2
ที่มา : https://www.esa.int/Applications/Navigation/Two_new_satellites_mark_further_enlargement_of_Galileo
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.สุทธิพงษ โตสงวน