เมื่อวันที่ 7 ก.พ.64 เวลาประมาณ 1307 ตามเวลากลางของยุโรป หุ่นยนต์สำรวจชูร่ง (Zhurong) ซึ่งได้รับการควบคุมการปฏิบัติการจากอวกาศยานเทียนเวิ่น-1 (Tianwen-1) ได้ทำการทดลองส่งสัญญาณวิทยุขึ้นไปบนท้องฟ้าของดาวอังคาร และในเวลาถัดมาเพียงไม่กี่วินาทีถัดมาอวกาศยาน Mars Express ขององค์การอวกาศยุโรปหรือ ESA ก็ได้โคจรพาดผ่านบริเวณน่านฟ้าดังกล่าว แต่ทาง ESA ยังไม่สามารถระบุได้ว่า Mars Express สามารถรับสัญญาณวิทยุได้หรือไม่
อวกาศยานและหุ่นยนต์หลากหลายประเภทที่ปฏิบัติภารกิจอยู่บนดาวอังคารได้ช่วยไขข้อสงสัยให้นักวิทยาศาสตร์มากมาย ทั้งในด้าน ธรณีวิทยา ชั้นบรรยากาศ สภาพแวดล้อมบริเวณพื้นผิว รวมถึงการหาร่องรอยของแหล่งน้ำบนดาวอังคารซึ่งจะเพิ่มโอกาสการค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
เพื่อที่จะทำการส่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับมาบนโลก หุ่นยนต์สำรวจที่ปฏิบัติภารกิจอยู่บนพื้นผิวของดาวอังคารจะทำการส่งข้อมูลขึ้นมายังอวกาศยานแม่ซึ่งโคจรอยู่รอบดาวอังคาร และอวกาศยานเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นตัวส่งสัญญาณรวมถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่มีความแรงสูงกลับมายังโลก
โดยทั่วไปแล้ว อวกาศยานแม่เช่น Mars Express จะทำการส่งสัญญาณไปให้หุ่นยนต์สำรวจที่ปฏิบัติงานอยู่ และหุ่นยนต์สำรวจก็จะทำการรับสัญญาณและส่งข้อความตอบรับสัญญาณกลับไปที่ตัวอวกาศยานแม่ จากนั้นจึงจะเริ่มทำการส่งข้อมูล
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/12/20211202-2.png)
อย่างไรก็ตาม เมื่อ Mars Express เริ่มทำการส่งสัญญาณไปให้หุ่นยนต์สำรวจชูร่งด้วยคลื่นสัญญาณที่มีช่องความถี่รับส่งที่แตกต่างกันนั้น ทำให้การรับส่งสัญญาณแบบสองทางนั้นไม่มีทางเป็นไปได้เลย แต่เมื่อชูร่งทดสอบส่งสัญญาณมาให้ Mars Express กลับสามารถรับสัญญาณได้
ภาครับสัญญาณของอวกาศยาน Mars Express นั้น จะมีโหมดที่อนุญาตให้มีการรับสัญญาณจากหุ่นยนต์สำรวจตัวอื่น ๆ ในโหมดที่ชื่อว่า in the blind ซึ่งทำให้สามารถรับสัญญาณได้ในทุกความถี่ เพียงแต่ว่า ESA ยังไม่เคยได้ทำการทดสอบจริง
เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมานั้น ทีมวิศวกรของทั้ง Mars Express จาก ESA และ ชูร่ง ของ CNSA หรือองค์การการบินและอวกาศของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมกันหาวิธีการสื่อสารระหว่างอวกาศยานทั้งสองโดยให้ Mars Express ใช้โหมด in the blind ในการทดสอบรับสัญญาณจากอวกาศยานชูร่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา Mars Express ได้ทำการส่งสัญญาณข้อมูลกลับมาที่ศูนย์ปฏิบัติการทางอวกาศของ ESA ที่เมืองดาร์มชตัดท์ ประเทศเยอรมนี ด้วยระบบการสื่อสารแบบ deep-space communication และได้ทำการส่งข้อมูลเหล่านั้นต่อไปให้ทีมของชูร่ง ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่า Mars Express สามารถรับสัญญาณจากชูร่งได้ นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญสำหรับการสื่อสารระหว่างอวกาศยานต่างชนิดกันบนดาวอังคาร
แหล่งที่มา : https://www.esa.int/Enabling_Support/Operations/A_one-way_phone_call_at_Mars
แปลและเรียบเรียง : ร.อ.ณัฐดนัย วิศิษฏ์โยธิน