จุดประสงค์ของกำลังทางทหาร คือการเตรียมพร้อม และเมื่อได้รับการร้องขอจากผู้มีอำนาจควบคุมที่ถูกต้องตามกฎหมาย ให้ใช้ความรุนแรงสูงสุดภายในกฎบัญญัติ ข้อบังคับ หรือข้อจำกัดที่ได้กำหนดไว้
บทที่ 3
กองทัพอวกาศ (Military Spacepower)
คุณประโยชน์ของพื้นที่สูงเป็นหนึ่งในหลักการสงครามที่เก่าแก่และยั่งยืนที่สุด การยึดครองพื้นที่สูงจะทำให้ได้มุมมองที่สูงกว่าและไม่มีสิ่งใดมาบดบังเหนือสนามรบ โดยประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือ ให้การเตือนล่วงหน้าถึงการปฏิบัติของกองทัพฝ่ายตรงข้ามและปกป้องกองกำลังภาคสนามจากการถูกจู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัว นอกจากนี้กองกำลังที่อยู่บนพื้นที่สูงยังมีความได้เปรียบด้านกำลังที่ชัดเจน เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความยั่งยืนคงทนของการปฏิบัติการทางทหาร ท้ายที่สุดการควบคุมพื้นที่สูงจะเป็นอุปสรรคต่อกองทัพฝ่ายตรงข้ามได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลดทอนอำนาจการต่อสู้โดยบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามเสียเวลาและทรัพยากรเพื่อไกลจากความพยายามหลักสำหรับขับไล่กองกำลังที่ยึดที่มั่น
มิติอวกาศครอบคลุมคุณลักษณะทั้งหมดเหล่านี้ ทำให้อำนาจอวกาศทางการทหารเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพื้นที่สูงในสงครามสมัยใหม่ โดยหากเมื่อใช้กับฝ่ายตรงข้าม อำนาจอวกาศทางการทหารจะมีความสามารถในการยับยั้งและบีบบังคับ รวมถึงให้ทางเลือกที่เป็นอิสระสำหรับผู้นำระดับชาติและผู้นำร่วม แต่จะได้ประโยชน์สูงสุดเมื่อรวมเข้ากับอำนาจทางการทหารรูปแบบอื่น
การสงคราม (WAR)
กองทัพอวกาศถูกเชื่อมโยงกับสงครามอย่างแยกไม่ออก กองทัพอวกาศต้องปฏิบัติการในมิติการสู้รบรูปแบบใหม่นี้เพื่อช่วยในการชนะสงครามของประเทศ ดังนั้นธรรมชาติที่ยืนยงของสงครามและรูปแบบตัวละครที่ทันสมัยจะเป็นตัวกำหนดอำนาจอวกาศทางการทหาร
ธรรมชาติที่ยืนยงของสงคราม (War’s Enduring Nature)
สงครามคือความรุนแรงที่สังคมลงโทษเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเมือง ดังคำกล่าวของ เคลาเซวิตซ์ (Clausewitz) ที่กล่าวว่า “สงครามคือความต่อเนื่องของการเมืองด้วยวิธีการอื่น” ด้วยเหตุนี้ไม่มีขอบเขตใดในประวัติศาสตร์ที่มนุษย์ต่อสู้กับเป้าหมายเชิงนโยบายนั้นที่ปราศจากศักยภาพในการทำสงคราม เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกายอมรับว่าการใช้ประโยชน์ทางมิติอวกาศมีจุดประสงค์เพื่อสันติ พร้อมรับความจริงว่ามิติอวกาศจะต้องได้รับการปกป้องจากผู้ที่พยายามจะบ่อนทำลายเป้าหมายของเราในอวกาศ
ขณะที่การปะทะกันของเจตจำนงที่มีความเห็นต่างกัน สงครามจึงปรากฏเป็นการแข่งขันกันอย่างพลวัต คู่ต่อสู้กระทำการและตอบโต้ฝ่ายตรงข้าม ต่างฝ่ายต่างพยายามกีดกันอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบที่จะมาบังคับตามเจตจำนงของตน เหนือสิ่งอื่นใดมนุษย์ไม่ใช่อาวุธที่ใช้ต่อสู้ในสงคราม องค์ประกอบของมนุษย์นี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอน ความไม่เป็นระเบียบ ความประหลาดใจ อารมณ์ การปรับตัว รวมไปถึงเล่ห์เหลี่ยมในสงคราม
วิธีการทำสงคราม (Warfare) มีความหมายถึง บริบทของสงครามที่แตกต่างกันออกไปโดยอาจมีตั้งแต่การประกาศความเป็นปรปักษ์ระหว่างปรปักษ์อธิปไตย ไปจนถึงความรุนแรงที่จำกัดระหว่างกองกำลังตัวแทนที่มิใช่ของรัฐ โดยความต่อเนื่องของการแข่งขันประกอบไปด้วยความร่วมมือของการแข่งขันภายใต้ความขัดแย้งกันที่มิใช่ทางอาวุธ หรือความขัดแย้งกันทางอาวุธ ซึ่งในความขัดแย้งใดๆ เป้าหมายทางการเมือง การจำกัดนโยบาย และกฎหมายว่าด้วยความขัดแย้งกันทางอาวุธจะเป็นตัวกำหนดความรุนแรงของการทำสงครามนั้น
— จบ ตอนที่ 7 บทที่ 3 Part 1 —
ที่มา https://www.spaceforce.mil/
เรียบเรียงโดย : ร.อ.นิตินัย อุตสาหะ