![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/THEOS-2.png)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/THEOS-2-LR-SmallSat.jpg)
๑. ความเป็นมาโครงการ
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศของประเทศไทย (GISTDA) ได้เลือก บริษัท Airbus Defense and Space SAS AIRBUS AIR BUS เป็นพันธมิตรสำหรับระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์แห่งชาติยุคหน้า ระบบ end-to-end จะทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางภูมิศาสตร์ได้อย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ทางสังคม สอดคล้องกับนโยบายประเทศไทย ๔.๐ อย่างสมบูรณ์ โครงการ THEOS-2 จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและดิจิทัลพาร์ค
โครงการจะสร้างขีดความสามารถที่ครอบคลุมเกี่ยวข้องกับวิศวกรชาวไทย ในการพัฒนาระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์แบบบูรณาการ ส่วนภาคพื้นดิน และดาวเทียมสำรวจโลก ๒ ดวง ระบบดาวเทียมขนาดเล็กที่มีความละเอียดสูง ระบบดาวเทียมขนาดเล็กจากบริษัท บริษัท Surrey Satellite Technology Ltd. (SSTL) สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ AIRBUS โดยจะประกอบและทดสอบในประเทศโดยวิศวกรชาวไทย เพื่อส่งมอบการถ่ายทอดเทคโนโลยีและเกี่ยวข้องให้กับซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น สิ่งนี้จะเสริมด้วยแผนการฝึกอบรมวิธีการใช้ประโยชน์จากความเชี่ยวชาญด้านภูมิสารสนเทศของ AIR BUS และจะพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงพื้นที่ของประเทศไทยต่อไป
ระบบดาวเทียมออปติคัลให้ภาพความละเอียดภาคพื้นดิน ๐.๕ ม. THEOS-2 ใช้ดาวเทียม AstroBus-S เป็นนวัตกรรมใหม่และผ่านการพิสูจน์การบิน (AIR BUS) โดยมีกำหนดเปิดตัวในปี พ.ศ.๒๕๖๓ โดยจะรักษาความต่อเนื่องในการให้บริการของ THEOS-1 ซึ่งเป็นดาวเทียมที่สร้างโดย (AIR BUS) ซึ่งเปิดตัวในปี พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งยังคงใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพสูงได้ถึงสี่ปี หลังจากสิ้นสุดอายุการใช้งานที่คาดไว้กำลังจะถูกทดแทนด้วยดาวเทียม AstroBus-S
มติคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ และครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ ลง ๗ ธ.ค.๖๑ หัวข้อย่อย ๒.๑.๒ วาระเรื่องเพื่อทราบ รายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการระบบดาวเทียม สรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
๑. สำนักเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) (สทอภ.) (GISDA) ได้ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบดาวเทียมเพื่อการสำรวจพร้อมระบบภาคพื้นดินและระบบแอพพลิเคชั่นภูมิสารสนเทศด้วยวิธีประกวดราคานานาชาติ
๒. มีบริษัทยื่นเข้าประกวดราคา ๗ ราย บริษัทที่ผ่านเกณฑ์ Instruction to Bidding ได้คะแนนสูงสุด คือ บริษัท Airbus Defense and Space SAS (AIRBUS) ประเทศฝรั่งเศส
๒.๑ Airbus Defence and Space SAS
๒.๒ ATHI Corporation Co.LTD., SOLETOP Co.LTD. and Sat Byul Co.LTD.
๒.๓ China Great Wall Industry Corporation
๒.๔ Israel Aerospace industries Ltd.
๒.๕ NEC Corporation
๒.๖ Satrec Initiative Co.LTD and POSCO Daewoo Corporation
๒.๗ Thales Alenia Space France SAS and e-GEOS SPA
๓. มูลค่ารวมทั้งโครงการ ๗,๘๐๐ ล้านบาท ในส่วนระบบดาวเทียมสำรวจเพื่อการพัฒนา (THEOS-2) มูลค่า ๗,๐๐๐ ล้านบาท
๔. สทอภ. (GISDA) ดำเนินการเข้าร่วมโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) ตามมติคณะรัฐมนตรีเจรจากับบริษัท Airbus Defense and Space SAS บรรลุข้อตกลงในเนื้อหาสัญญา จัดส่งร่างสัญญาให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาตรวจร่างสัญญา และลงนาม เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๑
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/THEOS-2-1.jpg)
๕. โครงการ มี ๕ องค์ประกอบที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
๕.๑ ระบบผลิต บริการภาพถ่ายและภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายดาวเทียมกว่า ๓๐ ดวง
๕.๒ ระบบประยุกต์ใช้งานแผนที่และภูมิสารสนเทศจากภาพถ่ายดาวเทียมตามภารกิจของหน่วยปฏิบัติ
๕.๓ โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการใช้งานภูมิสารสนเทศจากดาวเทียม
๕.๔ พัฒนาขีดความสามารถในการสร้างดาวเทียมและอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศ
๕.๕ จัดหา สร้างดาวเทียมและระบบภาคพื้นดิน เพื่อรองรับดาวเทียมจำนวน ๒ ดวง
ดวงที่ ๑ ดาวเทียมหลักแบบ (Optical) ถ่ายภาพรายละเอียดสูง ๕๐ ซม. เพื่อใช้งานด้านการติดตาม พื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ งานด้านความมั่นคง
และการจัดการในภาวะวิกฤต
ดวงที่ ๒ สร้างดาวเทียมดวงเล็กขนาด ๑๐๐ ก.ก. โดยคนไทย เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและพื้นฐานของอุตสาหกรรมอวกาศของประเทศ กำหนดนำขึ้นสู่วงโคจร พ.ศ.๒๕๖๔
๖. ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ ๖ ด้าน
๖.๑ ด้านการจัดการเกษตร เป็นระบบมากขึ้น สามารถวางแผนการเพาะปลูก การจัดการโซนนิ่งในพื้นที่การเกษตรต่างๆ ของทั้งประเทศ การคาดการณ์ปริมาณผลผลิตให้กับเกษตรกรได้อย่างแม่นยำ ลดการขาดทุนและราคาผลผลิตที่ตกต่ำได้ เป็นต้น
๖.๒ ด้านการจัดการน้ำ เป็นอีกมิติหนึ่งที่สำคัญเราจะบริหารจัดการน้ำอย่างไรให้เพียงพอต่อการใช้สอยในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าแล้ง และทำอย่างไรที่จะสามารถบริหารจัดการแหล่งน้ำได้ อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงหน้าฝน เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน หรือได้รับผลกระทบน้อยลงจากที่เคยประสบมา
๖.๓ ด้านการจัดการภัยพิบัติ ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ภัยพิบัติเกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะภัยแล้ง
และน้ำท่วม ดังนั้นเราจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการคาดการณ์ และประเมินสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือน
๖.๔ ด้านความมั่นคงของรัฐและสังคม ในการเฝ้าระวังรักษาความสงบให้เพิ่มสูงขึ้น เช่น ด้านการป้องกันการก่อการร้าย การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ การค้ายาเสพติดและการลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมาย และการรักษาความสงบภายในประเทศและระหว่างประเทศบริเวณเขตแนวชายแดน
๖.๕ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผ่านมาปัญหาเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาไฟป่าหมอกควันในเขตภาคเหนือ รวมไปถึงภาคต่างๆ ของประเทศ หรือในเขตประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยของเรา หรือปัญหามลพิษทางทะเลก็เป็นอีกปัญหาสำคัญ
๖.๖ ด้านการจัดการเมืองและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ โดยการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อสภาวะเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ การเสริมสร้างรากฐานที่แข็งแรงให้กับการเติบโตและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพของประเทศ
๒. ข้อมูลทางเทคนิค
๒.๑ THEOS-2 HR
– Nation : ประเทศไทย
– Contactors : บริษัท Airbus Defense and Space SAS AIRBUS ประเทศฝรั่งเศส
– Configuration : S450 Optical satellite (Astrobus-S)
– Type : Earth Observation
– Operator : GISDA
– Ground Resolution Imagery : 0.5 m
– Power : Deplyable fixed solar array batteries
– Lift Time : 10 Years
– Mass : 450 kg.
– Orbit : 620 km. SSO
– Date for Launch : 2022
– Launch Vehicle : Vega or Vaga-C
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/THEOS-2-2.png)
๒.๒ THEOS-2 LR SmallSat
– Nation : ประเทศไทย เป็นดาวเทียมดวงแรก ที่สร้างเองโดยวิศวกรคนไทย
ประกอบ และทดสอบในประเทศไทย
– Contactors : บริษัท Surrey Satellite Technology Ltd. (SSTL) สหราชอาณาจักรในเครือของ AIRBUS
– Configuration : SSTL-42
– Type : Earth Observation
– Operator : GISDA
– Power : Solar cells, batteries
– Lifttime : More than 3 Years
– Mass : 100 kg.
– Orbit : 620 km. SSO
– Date for Launch : 2021
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/THEOS-2-3-1024x768.jpg)
ที่มา : https://www.gistda.or.th/main/th/node/2529
แปลและเรียบเรียง เรืออากาศเอกยุทธนา สุพรรณกลาง