
บริษัท Taiwan Innovative Space หรือ TiSPACE บริษัท Start up จรวดนำส่ง มีเป้าหมายที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมนำส่งดาวเทียมขนาดเล็ก หลังจากต้องกลับไปเริ่มต้นความพยายามการนำส่งในครั้งใหม่ เมื่อจรวดนำส่งไปสู่วงโคจรรุ่นทดสอบเกิดการไหม้ระหว่างการนำส่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยบริษัทได้วางแผนที่จะทดสอบอีกครั้งภายในสิ้นปีนี้ด้วยจรวดสำรอง
นับเป็นครั้งแรกของบริษัทอวกาศในไต้หวันที่สร้างจรวด โดย TiSPACE มีแผนพัฒนาจรวดประเภท 3 ท่อน เรียกว่า Hapith-5 ออกแบบให้สามารถนำส่ง Payload 300 กิโลกรัม ไปสู่วงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ (Sun Synchronous Orbit : SSO) โดยในวันที่ 16 ก.ย.64 ได้มีความพยายามครั้งหนึ่งในการทำภารกิจการนำส่งให้สำเร็จ ซึ่งใช้ท่าอวกาศยาน Whalers Way ประเทศออสเตรเลีย เป็นฐานปล่อยจรวด Hapith-1 เป็นรุ่นทดลองของบริษัท พอหลังจากได้ติดจรวดพุ่งขึ้นจากพื้นโลก จรวดเกิดไฟไหม้และตกลงลงพื้น จากการรายงานของผู้บริหาร TiSPACE กับ สำนักข่าว SpaceNews ว่า สาเหตุเกิดจากถังเชื้อเพลิงจรวดท่อนแรกเกิดการแตกหักแต่ยังวัดความดันถังปกติหลังจากที่ตกลงพื้นแล้ว ซึ่งไม่เกิดระเบิดขึ้นภายในจรวดเพียงแต่เกิดการไหม้ภายในเท่านั้น
จรวด Hapith-1 เป็นจรวดทดลองที่จะนำไปสู่จรวด Hapith-5 ที่มีแผนจะเริ่มต้นการนำส่งจริงในไตรมาตรที่ 3 ปี พ.ศ.2565 โดยตั้งแนวทางในการใช้งานการนำส่งหลากหลายรูปแบบเมื่อได้ผ่านการทดสอบการนำส่ง Payload ขนาด 150 กิโลกรัม และ 300 กิโลกรัม สำเร็จตามลำดับ และใช้ฐานปล่อยจรวดที่ไต้หวันตั้งแต่เริ่มการทดสอบ แต่ยังติดปัญหาด้านกฎหมาย
TiSPACE ก่อตั้งในปี พ.ศ.2559 โดย Chen อดีตนักวิทยาศาสตร์ ณ ศูนย์การบินอวกาศ Marshall ของ NASA ที่จะพัฒนายานนำส่งในราคาที่สมเหตุสมผลสำหรับดาวเทียมขนาดเล็ก ในการนำส่งไปวงโคจรรอบโลกระดับต่ำ (Low Earth Orbit: LEO)
แปลและเรียบเรียง: ร.ท.กันต์ จุลทะกาญจน์
ที่มาของภาพและข่าว: https://spacenews.com/taiwans-tispace-to-try-again-after-launch-attempt-ends-in-flames/