![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/ภาพจำลองการใช้ระบบพลังงานหมุนเวียน.jpg)
การวิจัยพัฒนาระบบพลังงานหมุนเวียน
หลังจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศเข้าร่วมโครงการ Artemis องค์การวิจัยและพัฒนาการสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และบริษัท Honda R&D Co., Ltd. (Honda) จึงได้ลงนามในข้อตกลงการวิจัยร่วมกันเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.๒๐๒๐ เป็นระยะเวลาสามปี จนถึง ค.ศ.๒๐๒๒ เพื่อดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับระบบพลังงานหมุนเวียนหมุนเวียนสำหรับใช้บน Lunar Orbital Platform-Gateway (Gateway) และบนพื้นผิวของดวงจันทร์ วัตถุประสงค์โครงการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการออกแบบระบบเพื่อจ่ายออกซิเจน ไฮโดรเจนและพลังงานไฟฟ้า เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในอวกาศ ให้มนุษย์สามารถอยู่อาศัยและทำกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นระยะเวลานาน
นอกจากน้ำและอาหารแล้ว มนุษย์ยังต้องการออกซิเจน เช่นเดียวกับไฮโดรเจนสำหรับเชื้อเพลิงและไฟฟ้าเพื่อดำเนินกิจกรรมต่างๆ ดำรงชีวิตในอวกาศ ด้วยการสร้างระบบพลังงานหมุนเวียนด้วยเทคโนโลยีอิเล็กโทรลิซิสน้ำความดันแตกต่างสูง เทคโนโลยีการผลิตออกซิเจนและไฮโดรเจนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และระบบเซลล์เชื้อเพลิงที่สามารถผลิตไฟฟ้าและน้ำจากออกซิเจนและไฮโดรเจนได้
การวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ควบคุมจากระยะไกลรองรับ AI
Honda จะพัฒนาหุ่นยนต์ Avatar โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายขอบเขตความสามารถของมนุษย์โดยปราศจากข้อจำกัดของเวลาและสถานที่/พื้นที่ จะติดตั้งด้วยมือแบบหลายนิ้วด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ของ Honda และฟังก์ชันการควบคุมระยะไกลที่รองรับ AI ดั้งเดิมของ Honda เพื่อนำไปใช้งานจริงในช่วงทศวรรษ ๒๐๓๐ Honda กำลังดำเนินการพัฒนาโดยมีเป้าหมายที่จะดำเนินการทดสอบการสาธิตเทคโนโลยีก่อนสิ้นปีงบประมาณ ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ค.ศ.๒๐๒๔
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/ภาพหุ่นยนต์นิ้วมือ.jpg)
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/java.jpg)
จรวดขนาดเล็กที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้
Honda ได้พัฒนาจรวดขนาดเล็ก โดยริเริ่มจากข้อเสนอของวิศวกรรุ่นเยาว์ของบริษัท ที่ต้องการสร้างจรวดขนาดเล็กโดยใช้เทคโนโลยีหลัก เช่น เทคโนโลยีการเผาไหม้และการควบคุม ซึ่งได้รวบรวมขัอมูลไว้ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันมีจรวดไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการ การปล่อยดาวเทียม เพื่อแก้ไขปัญหานี้ Honda จึงมีการพัฒนาจรวดขนาดเล็กเพื่อใช้สำหรับการนำส่งดาวเทียมขนาดเล็กเข้าสู่วงโคจรโลกระดับต่ำ และวิจัยพัฒนาจรวดเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยทำให้ส่วนประกอบจรวดบางส่วนสามารถกลับคืนสู่พื้นโลกได้ภายหลังการปล่อยจรวด ความท้าทายนี้จะต้องพัฒนาเทคโนโลยีการควบคุมและการนำทางอัตโนมัติ
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/ภาพจรวดขนาดเล็ก.jpg)
ที่มา : https://global.honda/newsroom/news/2021/c210930beng.html
แปลและเรียบเรียงโดย เรืออากาศเอกยุทธนา สุพรรณกลาง