![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/20211005-4.png)
CAS Space ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเชิงพาณิชย์จาก Chinese Academy of Sciences (CAS) กำลังพัฒนาจรวดที่ใช้สำหรับการปล่อยอวกาศยานเชิงพาณิชย์ และมีเป้าหมายต้องการส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศ โดยใช้จรวดแบบใช้ซ้ำได้แบบขั้นตอนเดียว ซึ่งสามารถจุนักอวกาศได้มากถึงเจ็ดคนต่อการบินหนึ่งครั้ง โดยจะใช้เวลาอยู่เหนือเส้น Kármán เป็นเวลา 10 นาที ที่ระยะทาง 62 ไมล์ (100 กิโลเมตร) ซึ่งโดยทั่วไปถือว่าเป็นขอบเขตระหว่างชั้นบรรยากาศของโลกกับอวกาศ
โดยการออกแบบจรวดมีความคล้ายคลึงกับจรวด New Shephard ต่างกันตรงที่ใช้เครื่องยนต์ออกซิเจนและน้ำมันก๊าดทั้งหมดห้าเครื่อง ซึ่งแตกต่างจากเครื่องยนต์ออกซิเจนเหลวและไฮโดรเจนเหลว BE-3 ที่ใช้ติดตั้งบนจรวดของบริษัท Blue Origin เพียงเครื่องยนต์เดียว
ภาพแสดงครีบกริดใกล้กับส่วนบนของจรวด ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่จะนำทางการตกลงมา และจรวดจะถูกจับโดยแขนที่ติดอยู่กับฐานปล่อย ตามแนวคิดเดียวกับบริษัท SpaceX โดยแคปซูลจะตกลงสู่พื้นโลกด้วยร่มชูชีพทั้งหมด 3 ตัว
ที่มา : https://www.space.com/china-suborbital-space-tourism-cas-space-rockets
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง