อวกาศยานสองลำที่ถูกสร้างขึ้นโดยความร่วมมือของสหภาพยุโรปและประเทศญี่ปุ่นได้ทำการถ่ายภาพระยะใกล้ของดาวพุธเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยภาพถ่ายดังกล่าวได้เผยให้เห็นดาวเคราะห์หินที่ถูกปกคลุมไปด้วยภูเขาไฟจำนวนมาก
อวกาศยานทั้งสองลำมีลักษณะเชื่อมติดกัน และได้รับขนานนามว่า BepiColombo ได้ทำการถ่ายภาพดาวพุธเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ต.ค.64 ในระหว่างที่ทำการ Flybly หรือการเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณที่มีแรงโน้มถ่วงของดาวพุธ แต่ไม่ทำให้เกิดวงโคจรเนื่องจากความเร็วสัมพัทธ์ของอวกาศยานและดาวพุธมีมากเกินไป โดยการ Flybly ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกจากทั้งหมดหกครั้ง ที่อวกาศยานลำนี้จะต้องทำการบินผ่านเพื่อชะลอความเร็วการโคจรลงก่อนที่จะเข้าสู่วงโคจรของตนรอบดาวพุธ ทั้งนี้ โครงการ BepiColombo เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การอวกาศยุโรป (European Space Association : ESA) และองค์การอวกาศแห่งชาติ ญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency : JAXA)
ภาพถ่ายที่ BepiColombo ส่งกลับมานั้น ได้รับการบันทึกด้วยกล้อง Mercury Transfer Module Monitoring Camera 2 ซึ่งเป็นกล้องสำรวจชนิดภาพขาวดำ ในระยะห่างจากพื้นผิวดาวพุธประมาณ 2,418 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเวลา 10 นาที หลังจากที่อวกาศยานได้เคลื่อนที่เข้าใกล้ดาวพุธมากที่สุดในระยะ 200 กิโลเมตร โดยได้เผยให้ภูเขาไฟจำนวนหลายสิบลูกที่อยู่บนพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงดังกล่าว
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/10/20211005-1.jpg)
ด้านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ ESA ได้ให้ข้อมูลรูปภาพเพิ่มเติมว่า เป็นภาพพื้นที่บริเวณซีกโลกเหนือของดาวพุธ รวมไปถึงบริเวณที่ราบ Sihtu ซึ่งถูกปกคลุมด้วยลาวา และที่ราบ Rudaki ซึ่งเป็นบริเวณที่มีพื้นผิวที่ราบเรียบกว่าปกติ นอกจากนี้ ESA ยังสามารถที่ระบุพื้นที่บริเวณปล่องภูเขาไฟ Lermontov ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 166 กิโลเมตร ได้อีกด้วย
โครงการ BepiColomno เป็นโครงการมูลค่า 750 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบไปด้วยอวกาศยานจำนวน 2 ลำที่ถูกออกแบบมาให้ปฏิบัติภารกิจสำรวจดาวพุธ ซึ่งมีอุปกรณ์ต่าง ๆ มากถึง 16 อุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลของดาวเคราะห์อย่างละเอียด โดย ESA ได้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างอวกาศยานสำหรับการสำรวจจากชั้นบรรยากาศ ขณะที่ JAXA จะรับผิดชอบในการสร้างอวกาศยานที่สำรวจและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสนามแม่เหล็ก พลาสมา ตลอดจน ฝุ่นและละอองต่าง ๆ ของดาวพุธ
นับตั้งแต่ได้รับการนำส่งในปีค.ศ.2018 นั้น BepiColombo ได้ทำการ flyby ผ่านดาวเคราะห์ทั้งหมด 3 ดวง ได้แก่ โลก ดาวศุกร์ และดาวพุธ ก่อนที่จะเข้าสู่วงโคจรของตนรอบดาวพุธในวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.2025 ตามการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ
แหล่งที่มา : https://www.space.com/mercury-bepicolombo-first-flyby-photos
แปลและเรียบเรียง : ร.อ.ณัฐดนัย วิศิษฏ์โยธิน