![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/07/china.png)
ที่ผ่านมาทางการของจีนได้นำส่งดาวเทียมภารกิจ Yaogan-30 ด้วยจรวด Long March 2C ยกตัวขึ้นจากศูนย์การนำส่งดาวเทียม Xichang (Xichang Satellite Launch Center) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน เมื่อวันที่ 19 ก.ค. เวลา 7.19 น. ตามเวลาประเทศไทย เป็นการนำส่งครั้งที่ 10 และเป็นครั้งสุดท้ายในการนำส่งดาวเทียมของภารกิจ ซึ่งนำส่งทีละ 3 ดวงด้วยกันไปยังวงโคจรความสูง 600 กิโลเมตรเหนือพื้นโลก
โดยสำนักข่าว Xinhua ได้บอกถึงดาวเทียมนี้ว่าใช้สำหรับการสำรวจสิ่งแวดล้อมของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และทำการทดสอบเทคโนโลยีเครือข่ายดาวเทียมหลายดวง (Multi-satellite network) ซึ่งไม่มีภาพของดาวเทียมและมีรายละเอียดเพียงเล็กน้อยของภารกิจนี้เช่นเดียวกับการนำส่งดาวเทียมลับเฉพาะของประเทศต่างๆ ซึ่งภารกิจ Yaogan-30 ถูกเข้าใจจากการวิเคราะห์ของชาติตะวันตกว่าเป็นดาวเทียมการลาดตระเวนทางทหารของจีน
ดาวเทียมที่ส่งขึ้นไปมีความลาดเอียงของวงโคจร (Orbit Inclination) ที่ 35 องศา หมายความว่าดาวเทียมจะผ่านที่ละติจูดที่ 35 องศาเหนือ และ 35 องศาใต้ ซึ่งวงโคจรคล้ายกับการนำส่งในครั้งที่ผ่านมา และโคจรในวงโคจรเดียวกัน และผ่านพื้นที่เดียวกัน ซึ่งการผ่านจะมีความถี่มากขึ้น จำนวนดาวเทียมนับจากการนำส่งครั้งแรกในเดือนก.ย.60 นับเป็นการนำส่ง 10 ครั้งในภารกิจนี้
ด้วยการนำส่งครั้งสุดท้ายในภารกิจนี้ ทาง NASA ได้รายงานว่า สถาบันเทคโนโลยียานนำส่งของจีน (China Academy of Launch Vehicle Technology, CALT) ที่ทำส่วนประกอบของจรวดนำส่งให้กับทางการจีนเป็นหลัก ได้ทีโอกาสในการทดสอบการเบนวิถีของส่วนปลายแหลมจรวด (Nose cone) หลังจากได้ปลดออกจากจรวด
หลังจากการนำส่ง 2 วัน สถาบันเทคโนโลยียานนำส่งของจีน เปิดเผยว่าได้ติดตามการเคลื่อนที่ในส่วนของปลายแหลมจรวดระหว่างการลดระดับและพบกว่าตกลงในพื้นที่ป่า ซึ่งเป้าหมายของการทดสอบนี้จะลดขนาดพื้นที่ที่เป็นไปได้ในการลงจอดลลดลง 80% เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยในการลงจอดและลดการอพยพคนในพื้นที่ที่ลงจอดได้อย่างมาก
นอกจากนี้ สถาบันเทคโนโลยียานนำส่งของจีน เคยทดสอบการนำกลับมาใช้ของยานนำส่งชั้น Suborbital เป็นการทดสอบเพื่อพัฒนาเครื่องบินอวกาศ แต่ข้อมูลที่เปิดเผยไม่แน่ชัดจากทางการจีน
ที่มาของภาพและข่าว: https://www.space.com/china-rocket-launch-tests-nose-cone-parachute
แปลและเรียบเรียง: ร.ต.กันต์ จุลทะกาญจน์