![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/Mars-transit-habitat.png)
หน่วยนวัตกรรมของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ หรือ Defense Innovation Unit (DIU) ได้ประกาศหาผู้เข้าประมูลระบบเครื่องยนต์พลังงานนิวเคลียร์สำหรับภารกิจอวกาศที่โคจรเหนือโลก โดยทางกลาโหมฯ ต้องการแหล่งพลังงานที่มีน้ำหนักเบา สามารถประกอบเข้าและถอดออกได้ (Portable) และให้พลังงานได้ยาวนาน ซึ่งสามารถนำไปใช้กับระบบขับเคลื่อน (Propulsion) และเป็นแหล่งพลังงานของอวกาศยานสำหรับการรับรู้ (Sensing) และสื่อสาร (Communication) ขนาดเล็กและขนาดปานกลางได้
DIU กล่าวถึงระบบขับเคลื่อนแบบฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์ที่ไม่เหมาะสำหรับใช้งานในภารกิจอวกาศที่โคจรเหนือโลก และมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการใช้กับอวกาศยานพาณิชย์ยุคใหม่ ระบบขับเคลื่อนจะสามารถให้ค่า delta-V และพลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้โหลดสูง และคงประสิทธิภาพของการจ่ายเชื้อเพลิงได้ ซึ่งจะเป็นการให้กลาโหมสหรัฐสามารถทำภารกิจอวกาศใหม่ ๆ ได้
การส่งมอบเอกสารมีกำหนดภายใน 23 ก.ย.64 นี้ ซึ่ง DIU จะสามารถทำสัญญากับผู้ได้รับการคัดเลือกภายใน 60-90 วัน โดยสัญญานี้ถือว่าเป็นขั้นตอนอื่น ๆ ของการทดสอบต้นแบบภายใต้การทดสอบในห้องปฏิบัติการ (Laboratory-based Prototype Testing) ภายใต้สัญญา OT ที่รัฐและภาคเอกชนตกลงจะมีการลงทุนร่วมกัน โดยผู้เสนอราคาต้องแสดง “เส้นทางการผลิตที่น่าเชื่อถือ การกำกับดูแล และการออกใบอนุญาตสู่การพัฒนาต้นแบบภายใน 3-5 ปี และในการทดสอบการบินที่จะตามมา
ปัจจุบัน NASA และหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูงของกลาโหมสหรัฐ (Defense Advanced Research Projects Agency) ได้สนับสนุนเงินทุนสำหรับการพัฒนาระบบขับเคลื่อนและพลังงานแบบฟิชชัน เช่น เทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยความร้อนจากนิวเคลียร์ ซึ่งทาง DIU ได้ชี้แจงว่าโครงการที่ได้ดำเนินการนั้นไม่มีการทับซ้อนกับโครงการที่มีอยู่เดิม แต่เพียงพยายามสนับสนุนโครงการของรัฐบาลในปัจจุบันด้วย “เทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ที่ครบถ้วนซึ่งสามารถให้พลังงานและระบบขับเคลื่อนในระยะเวลาอันใกล้นี้
ข้อกังวลในการสร้างความมั่นใจว่าระบบนี้จะมีความปลอดภัย ทาง DIU จึงต้องการระบบที่สามารถลดการสัมผัสรังสีให้กับบุคลากรภาคพื้นดินในระหว่างการประกอบอวกาศยาน รวมถึงรังสีจากส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์โดยรอบ
ที่มา https://spacenews.com/dod-looking-for-commercially-available-nuclear-propulsion-for-small-spacecraft/
เรียบเรียง : จ.อ.ธวัชชัย หันจันทร์ วันที่ 15 กันยายน 2564