![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/korea-1024x569.png)
รัฐบาลสาธาณรัฐเกาหลีหรือรัฐบาลเกาหลีใต้จะทำการถ่ายโอนเทคโนโลยีจรวดที่มีไปสู่บริษัทอุตสาหกรรมเกี่ยวกับ Aerospace ภายในประเทศ ซึ่งการถ่ายโอนนี้จะช่วยเจาะตลาดการนำส่งอวกาศของโลกที่กำลังขยายตัว โดยรัฐบาลเกาหลีใต้จะใช้งบประมาณทั้งหมด 593 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการถ่ายโอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2565 ถึง 2570
Korea Aerospace Research Institute (KARI) สถาบันหลักในการพัฒนาเทคโนยีอวกาศของรัฐบาลเกาหลี ที่มีบทบาทเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาจรวดนำส่งและเป็นผู้ผลิตจรวดนำส่งรุ่นแรกของเกาหลีใต้ชื่อว่า KSLV-2 (Nuri) ซึ่งเป็นจรวดเชื้อเพลิงเหลว 3 ท่อนโดยคาดว่าสามารถนำส่งดาวเทียมน้ำหนัก 1.5 ตัน ขึ้นสู่วงโคจรระดับต่ำ (Low Earth Orbit, LEO) และได้กำหนดจะมีเที่ยวบินสาธิตใน ต.ค.64 นี้ ทำให้การถ่ายโอนไปภาคเอกชนที่ถูกเลือกจะสำเร็จได้ต้องเกิดความร่วมมือในการพัฒนาและการทดสอบจรวดกับ KARI
จากนโยบายทางรัฐบาลเกาหลีใต้ทำให้ยืนยันได้ว่า รัฐบาลมีข้อผูกมัดที่จะเร่งการถ่ายโอนเทคโนโลยีอวกาศสู่ภาคเอกชนโดยเร็ว เช่นเดียวกับบริษัท SpaceX และบริษัทเอกชนผู้พัฒนาเทคโนยีอวกาศ เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในอุตสาหกรรมอวกาศ การเคลื่อนไหวของบริษัทเหล่านี้จึงทำให้ KARI และ Korea Advanced Institute of Science and Technology (KAIST) ทำการถ่ายโอนเทคโนโลยีการผลิตดาวเทียมให้กับบริษัท Aerospace หลักของประเทศ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ของเกาหลีใต้ไม่ได้ระบุว่าบริษัทใดจะได้มีส่วนร่วมการถ่ายโอนเทคโนโลยีครั้งนี้ แต่อาจเป็นไปได้ว่าบริษัทที่เคยร่วมพัฒนากิจการอวกาศที่ผ่านมาแล้วได้แก่ Hanwha Aerospace, Innospace, Perigee Aerospace และ Korean Air อาจจะได้รับการถ่ายโอนเทคโนโลยีครั้งนี้
แปลและเรียบเรียง: ร.ต.กันต์ จุลทะกาญจน์
ที่มาภาพและข่าว: https://spacenews.com/south-korea-to-spend-593-million-on-public-to-private-transfer-of-rocket-technologies/