![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/iss.jpg)
พบรอยแตกร้าวเล็ก ๆ บางจุดบนโมดูล Zarya Vladimir Solovyov หัวหน้าวิศวกรของบริษัท Energia ในกรุงมอสโกซึ่งเป็นผู้รับเหมาหลักสำหรับโครงการยานอวกาศของมนุษย์จากประเทศรัสเซียกล่าวกับสำนักข่าว RIA ของรัสเซีย Reuters รายงานในวันที่ 30 ส.ค. 2564 “สิ่งนี้ไม่ดีและแสดงให้เห็นว่ารอยร้าวจะเริ่มร้าวไปเรื่อย ๆ ไปตามกาลเวลา”
รอยแตกร้าวซึ่งถูกค้นพบโดยนักบินอวกาศชาวรัสเซีย ได้ทำให้อากาศรั่วไหลจาก โมดูลZarya หรือที่เรียกว่า FCB (ย่อมาจาก “Functional Cargo Block”) ส่วนหนึ่งของของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เป็นสถานีแรกที่ไปถึงวงโคจร โดยเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พบรอยแตกร้าวบนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งนักบินอวกาศที่หมุนเวียนกันเข้าประจำการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2543 ตัวอย่างเช่น รอยแตกร้าวในโมดูล Zvezda ของรัสเซียทำให้เกิดการรั่วไหลของอากาศขนาดเล็กในห้องปฏิบัติการที่ถูกตรวจพบในเดือนกันยายน 2019 Cosmonauts ได้แก้ไขรอยร้าวของ Zvezda ในเดือนตุลาคม 2020 และเดือนมีนาคม ของปีนี้แต่ปัญหายังคงอยู่ เมื่อเดือนที่แล้ว รัสเซียรายงานว่าความดันลดลงอีกในโมดูล
ผู้ควบคุม ISS สังเกตเห็นการรั่วไหลของอากาศในเดือนสิงหาคม 2018 เช่นกัน แต่ในไม่ช้าพวกเขาก็ระบุว่ามีสาเหตุมาจากรูที่ถูกเจาะในยานอวกาศ Soyuz ของรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าน่าจะเป็นผลมาจาก ความผิดพลาดของมนุษย์ แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้เจ้าหน้าที่อวกาศของรัสเซียพยายามที่จะตำหนินักบินอวกาศของ NASA
ในเดือน กรกฎาคม 2564 ได้เห็นการมาถึงของโมดูลวิทยาศาสตร์ Nauka ของรัสเซียที่มาถึงสถานีอวกาศนานาชาติล่าช้า การพบปะครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปตามแผนทั้งหมด เมื่อ Nauka เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศไม่นานหลังจากที่เชื่อมต่อกับสถานีอวากาศนานาชาติเสร็จก็ทำให้สถานีอวกาศนานาชาติหมุนไปถึง 540 องศา แต่ในที่สุด ผู้จัดการสถานีอวกาศนานาชาติก็ควบคุมสถานการณ์ได้ และทำให้สถานีอวกาศนานาชาติโคจรกลับสู่ทิศทางปกติ
แปลและเรียบเรียง : นายจิรวัฒ พลานุสนธิ์