![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/Landsat-9.png)
ภารกิจการนำส่งดาวเทียม Landsat 9 ได้ถูกเลื่อนออกไป 1 สัปดาห์เนื่องจากการขาดแคลนไนโตรเจนเหลวที่เป็นปัญหาระดับโลกในปัจจุบันนี้ ซึ่งตามกำหนดการแล้วจรวดนำส่งดาวเทียมในภารกิจ Landsat 9 จะปล่อยออกจากท่าอวกาศ Space Launch Complex 3 ฐานทัพอวกาศ Vandenberg แคลิฟอร์เนีย เดิมจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.64 และถูกเลื่อนไปไม่เกินวันที่ 23 ก.ย. นี้
การเลื่อนกำหนดการของภารกิจนี้เกี่ยวเนื่องจากออกซิเจนเหลวขาดตลาด ซึ่งออกซิเจนเหลวใช้เป็นส่วนประกอบของการเผาไหม้เชื้อเพลิงจรวด และมีบทบาทสำคัญในทางการแพทย์อย่างมาก โดยเฉพาะสถานการณ์ Covid-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ทาง NASA ใช้จรวด RP-1 ซึ่งเป็นจรวดที่ใช้ Kerosene เป็นเชื้อเพลิง และไนโตรเจนเหลวเป็นออกซิไดซ์ในการเผาไหม้ ซึ่งเหมือนว่าไม่มีผลกระทบอย่างใด แต่จากคำแถลงของ NASA ได้กล่าวไว้ในเรื่องของการขาดแคลนไนโตรเจนเหลวนั้น เกิดจากบริษัทขนส่งไนโตรเจนเหลวต้องรับหน้าที่การขนส่งออกซิเจนเหลวที่มีความต้องการสูงในด้านการแพทย์ไปยังโรงพยาบาล จนมีผลกระทบต่อการขนส่งไนโตรเจนเหลวให้กับภารกิจการนำส่งครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม NASA ได้มีการสำรองออกซิเจนเหลวไว้เพียงพอสำหรับภารกิจอื่นตามแผนในปีนี้
ภารกิจ Landsat 9 เป็นภารกิจการสำรวจธรรมชาติที่ใช้ในการติดตามและการบริหารทรัพยากรที่ดิน การบริหารทรัพยากรน้ำ การเกษตร และการป่าไม้ ซึ่งภารกิจนี้งบประมาณการผลิตและการนำส่ง 885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภารกิจครั้งที่ 9 นี้จะมาทดแทน Landsat 7 ที่เริ่มภารกิจในปี พ.ศ.2542 และจะทำงานควบคู่กับภารกิจ Landsat 8 ซึ่งการทำงานคู่กันของสองภารกิจนี้จะทำให้สามารถถ่ายภาพรอบโลกได้ทุก 8 วัน โดยดาวเทียมทั้งสองภารกิจมีบางเซนเซอร์ที่แตกต่างกันทำให้ตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติของโลกได้หลากหลายมากขึ้น
ที่มาของภาพและข่าว: https://www.space.com/nasa-landsat-9-earth-satellite-launch-delay
แปลและเรียบเรียง: ร.ต.กันต์ จุลทะกาญจน์