![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/ARTEMIS-1024x571.jpg)
Artimis I เดิมชื่อ Exploration Mission–1 เป็นการทดสอบแบบบูรณาการครั้งแรกของระบบสำรวจห้วงอวกาศลึก ของ NASA ภารกิจโครงการ Artemis I เริ่มจากทดสอบระบบอวกาศยานไร้คนขับสำรวจอวกาศเชิงลึก ดวงจันทร์ จากนั้นเดินทางกลับโลก โครงการต่อไป NASA มีเป้าหมายแน่วแน่ให้นักบินอวกาศหญิงคนแรกลงบนดวงจันทร์ผู้ชายคนต่อไปลงดาวอังคาร โดยใช้เทคโนโลยีซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุด ทันสมัยมากกว่าเคยสร้างมาในการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์เป็นการร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้าระหว่างประเทศ โดยจะสร้างฐาน Artemis บนผิวดวงจันทร์และจะเดินทางต่อไปดาวอังคารในปี พ.ศ.๒๕๖๔ ต่อไป
ระบบจรวด Space Launch System (SLS) มีขนาดใหญ่กว่าเคยสร้างมา จะถูกปล่อยตัวในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๔ นี้ ขึ้นจากLaunch Complex – 39B Kennedy Space Center มลรัฐฟลอริดา ประกอบไปด้วยระบบขับเคลื่อน Booster ๕ ส่วน และเครื่องยนต์หลัก RS-25 ๔ ตัว ให้แรงขับรวม ๘,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ เพื่อขับเคลื่อนน้ำหนักบรรทุกรวมเกือบ ๖,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์ ขึ้นไป Stage แรกของชั้นบรรยากาศภายใน ๙๐ วินาที และจะดีดตัวออกจากอวกาศยาน Orion สมองกลควบคุม SLS ทั้งระบบเกิดจากคอมพิวเตอร์ทรงพลังสามตัว และ Avionics Software อัจฉริยะ ผ่านการทดสอบ สถานการณ์ต่าง ๆ ๓๐๐,๐๐๐ ครั้ง
จากนั้นอวกาศยาน Orion จะการเดินทางออกจากวงโคจรโลกไปสู่ดวงจันทร์ จะโคจรรอบโลกขณะเดียวกันดำเนินการปรับใช้แผงโซลาเซลล์ และเชื้อเพลิงแบบแช่แข็ง (Interim Cryogenic Propulsion Stage ) ( ICPS )อยู่ด้านท้ายของอวกาศยานจะจุดตัวทำให้เกิดแรงผลัก จำเป็นในการออกจากวงโคจรของโลกและเดินทางไปยังดวงจันทร์ เมื่อเดินทางไปประมาณสองชั่วโมง ICPS จะแยกตัวออกจาก Orion เพื่อใช้งานดาวเทียมขนาดเล็กจำนวนหนึ่งเรียกว่า CubeSats ทำการทดลองและการสาธิตเทคโนโลยีหลายอย่างต่อไป
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/ARTEMIS2-1024x560.jpg)
อวกาศยาน Orion จะเดินทางต่อไปซึ่งขับเคลื่อนไปโดยโมดูลบริการสร้างโดย European Space Agency ซึ่งจะจัดหาระบบขับเคลื่อนหลักและพลังงานของอวกาศยาน รวมไปถึงอากาศและน้ำสำหรับนักบินอวกาศในอนาคต Orion จะผ่านแถบรังสีแวนอัลเลน ผ่านกลุ่มดาวดาวเทียม Global Positioning System (GPS) และดาวเทียมสื่อสารเพื่อติดตามข้อมูลและการถ่ายทอดสัญญาณผ่านเครือข่ายห้วงอวกาศ ติดต่อสื่อสารกับศูนย์ควบคุมการปฏิบัติภารกิจฮูสตัน ขาออกจะใช้เวลาหลายวัน ในระหว่างนี้วิศวกรจะประเมินระบบของอวกาศยานและแก้ไขวิถีของอวกาศยานหากจำเป็น เมื่อ Orion บินเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ ๖๒ ไมล์ (๑๐๐ กม.) จะใช้แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์เพื่อขับเคลื่อน Orion ให้ถอยกลับลึกใหม่ หรือโคจรรอบประมาณ ๔๐,๐๐๐ ไมล์ (๗๐,๐๐๐ กม.) จากดวงจันทร์ อวกาศยานจะอยู่ในวงโคจรนั้นเป็นเวลาประมาณหกวันเพื่อรวบรวมข้อมูลและอนุญาตให้ผู้ควบคุมภารกิจประเมินประสิทธิภาพของอวกาศยาน
เมื่อเสร็จภารกิจที่ดวงจันทร์ Orion จะเดินทางกลับยังโลก สำหรับการเดินทางกลับมายังโลก Orion จะทำการบินอีกระยะใกล้ที่จะพาอวกาศยานอยู่ห่างจากพื้นผิวดวงจันทร์ประมาณ ๖๐ ไมล์ อวกาศยานจะใช้เครื่องยนต์อื่นที่กำหนดเวลาไว้อย่างแม่นยำ ในการจุดตัวของโมดูลบริการ ร่วมกับแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์เพื่อเร่งความเร็วกลับสู่โลก แรงขับจะทำให้อวกาศยานโคจรกลับสู่โลกเพื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของเราด้วยความเร็ว ๒๕,๐๐๐ไมล์ต่อชั่วโมง (๑๑ กิโลเมตรต่อวินาที) จะทำให้เกิดอุณหภูมิประมาณ ๕,๐๐๐ องศาฟาเรนไฮ(๒,๗๖๐ องศาเซลเซียส) ซึ่งเร็วและร้อนกว่าที่อวกาศยานเคยประสบใน ปี พ.ศ.๒๕๕๗ ในการทดสอบการบิน
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/09/ARTEMIS3-1024x447.jpg)
กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาประมาณสามสัปดาห์และระยะทางรวมกว่า ๑.๓ ล้านไมล์ ภารกิจจะจบลงด้วยการทดสอบความสามารถของ Orion ในการกลับสู่โลกอย่างปลอดภัยในขณะที่อวกาศยานทำการลงจอดอย่างแม่นยำ โดยเรือกู้ชีพนอกชายฝั่งบาจา มลรัฐรัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากลงทะเลอย่างปลอดภัย Orion จะยังคงได้รับพลังงานเป็นระยะเวลาหนึ่ง ขณะเดียวกันนักประดาน้ำจากกองทัพเรือสหรัฐฯ และทีมปฏิบัติการจากระบบ Exploration Ground Systems ของ NASA ในเรือลำเล็กจากเรือกู้ภัยที่รออยู่ จะตรวจสอบอวกาศยานโดยสังเขปเพื่อค้นหาอันตรายและต่อสายลากจูง จากนั้นวิศวกรจะลากแคปซูลไปที่ชั้นดาดฟ้าของเรือกู้ภัยเพื่อนำอวกาศยานกลับบ้าน
ที่มา https://www.nasa.gov/artemis-1
แปลและเรียบเรียงโดย ร.อ.ยุทธนา สุพรรณกลาง