![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/BepiColombo2-1024x577.jpg)
อวกาศยาน Solar Orbiter และBepiColombo ได้ทำการบินผ่านดาวศุกร์ครั้งประวัติศาสตร์ โดยบินผ่านดาวศุกร์ห่างกัน 33 ชั่วโมง ซึ่งได้บันทึกภาพ และข้อมูลที่ได้ไม่ซ้ำกันระหว่างการบินผ่าน
Solar Orbiter ความร่วมมือระหว่าง ESA/NASA บินผ่านดาวศุกร์เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ที่ระยะความสูง 7,995 กม. ในขณะที่ BepiColombo ความร่วมมือระหว่าง ESA/JAXA บินผ่านที่ระยะความสูง 552 กม. จากพื้นผิวดาวศุกร์ในวันที่ 10 สิงหาคม 2564
การบินผ่านช่วยให้อวกาศยานมีแรงเหวี่ยงเพื่อปรับเปลี่ยนเส้นทางและความเร็ว โดย BepiColombo จะทำการบินผ่านดาวพุธครั้งแรกจากทั้งหมด 6 ครั้งในคืนวันที่ 1-2 ตุลาคม 2564 ก่อนจะเข้าสู่วงโคจรในปี 2568 และSolar Orbiter จะทำการบินผ่านโลกครั้งสุดท้ายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2564 หลังจากนั้น Gravitational Slingshot ของดาวศุกร์จะเปลี่ยนวิถีโคจรของอวกาศยานเพื่อให้ได้ภาพครั้งแรกของขั้วดวงอาทิตย์
เครื่องมือวิทยาศาสตร์จำนวนมากเปิดอยู่ในระหว่างการบินผ่าน โดยใช้โอกาสนี้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมแม่เหล็ก พลาสมา และอนุภาคของดาวศุกร์รอบๆ อวกาศยาน ยิ่งไปกว่านั้น ลักษณะเฉพาะของการบินผ่านแบบคู่คือ สามารถเปรียบเทียบชุดข้อมูลสองชุดได้จากตำแหน่งของอวกาศยานในเวลาที่ใกล้เคียงกัน
![](http://isr.spoc.rtaf.mi.th/wp-content/uploads/2021/08/Solar-Orbiter-1024x531.jpg)
SoloHI (Heliospheric Imager) ของ Solar Orbiter ได้บันทึกภาพด้านมืดของดาวศุกร์ก่อนถึงช่วงเวลาที่เข้าใกล้ที่สุด SoloHI สามารถถ่ายภาพลมสุริยะ ซึ่งเป็นกระแสของอนุภาคที่มีประจุที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องก่อนหน้าที่จะบินผ่านดาวศุกร์ โดยกล้องโทรทรรศน์จับแสงจ้าตอนกลางวัน และด้านกลางคืนของดาวศุกร์ปรากฏเป็นครึ่งวงกลมสีดำที่ล้อมรอบด้วยแสงเสี้ยวที่สว่าง
ที่มา : https://www.esa.int/Science_Exploration/Space_Science/Sights_and_sounds_of_a_Venus_flyby
แปลและเรียบเรียง : พ.อ.ท.ธีรพงษ์ เข็มทอง